ยามอุบากอง 2567 สูตรดูฤกษ์เดินทาง ออกรถตามข้างขึ้น-ข้างแรมจากแดนพม่า

เช็ค ยามอุบากอง 2567 ดูวิธีคำนวณฤกษ์เดินทาง ออกรถตามข้างขึ้น-ข้างแรม พร้อมประวัติยามอุบากอง คืออะไร มีที่มาอย่างไร วันนี้เหมาะจะออกเดินทางเมื่อไหร่ ไปดูกัน

CARS24
CARS24
| อ่าน 1 นาที

สายมูน่าจะคุ้นหูคุ้นตากับ ยามอุบากอง กันดี ในฐานะฤกษ์ยามแห่งการเริ่มต้นลงมือทำใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง ไม่ว่าจะเดินทางไกล ออกท่องเที่ยว เดินทางไปเสนองานลูกค้า กระทั่งการออกรถใหม่ ซึ่งรถก็คือพาหนะแห่งการเดินทาง แต่ครั้งนี้ขอเล่าเพิ่มเติมถึงว่า ยามอุบากอง ซึ่งเป็นฤกษ์ยามที่เป็นศาสตร์การคำนวณจากฝั่งพม่านี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมจึงเป็นฤกษ์สำคัญของการเดินทางในไทย พร้อมวิธีการคำนวณเบื้องต้น จบในหนึ่งบทกลอน สามารถประยุกต์ใช้โดยคร่าว (ส่วนการเดินทางที่สำคัญมากๆ จะอาศัยความเก๋าของหมอดูประจำตัวก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย)

ยามอุบากอง 2567 ยามอุบากองคืออะไร พร้อมวิธีดูฤกษ์เดินทาง ฤกษ์ออกรถแบบยามอุบากอง

ยามอุบากอง คืออะไร

กับจุดเริ่มต้นจากประวัติศาสตร์แหกคุก

ตามตำราพรหมชาติ ตำราวิชาโหราศาสตร์โบราณของไทย อธิบายถึงยามอุบากองไว้ว่า เดิมอุบากองเป็นชื่อนายทหารยศขุนพลของพม่าที่คุมกำลังเข้าโจมตีเมืองเชียงใหม่เมื่อแรม ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะเมีย พ.ศ. 2340 แต่ถูกฝ่ายไทยจับกุมตัวได้

คราวนั้นพ่อเมืองเชียงใหม่ได้คุมตัวอุบากองส่งลงมายังกรุงเทพฯ เมื่อขึ้น ๘ ค่ำ เดือนหก(6) ปีมะเมีย พ.ศ. 2340 สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงสั่งให้สอบสวนอุบากองทันที ปรากฏว่า อุบากองเป็นคนไทย เกิดในเมืองไทย แม้มีพ่อเป็นเชื้อสายพม่าแต่แม่เป็นเชื้อสายคนไทยแถบเมืองธนบุรี พระองค์จึงทรงพระเมตตา พระราชทาน เสื้อผ้า และให้นำไปจำขังไว้ที่คุกวัดโพธาราม หรือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในปัจจุบัน

ระหว่างถูกคุมขังที่คุกวัดโพธิ์ เขาได้สอนตำรายันต์ยามยาตราซึ่งสามารถแหกคุกที่คุมขังได้ให้กับพรรคพวก เมื่อพรรคพวกสามารถเรียนยามยาตราได้แล้วอุบากองก็ทำพิธีตามหลักโหราศาสตร์ พอได้ฤกษ์งามยามดีก็พากันแหกคุกวัดโพธิ์ หลบหนีไปยังเมืองพม่าได้อย่างปลอดภัย แต่มีนักโทษพม่าเชื้อสายไทยบางคนไม่ได้หลบหนีไปด้วยพวกเขาจึงบอกเรื่องยามยาตรานี้กับผู้คุมนักโทษ จึงมีการนำมาเล่าเรียนกันและให้ชื่อยามยาตรานี้ว่า "ยามอุบากอง" ตามชื่อเจ้าของและเพราะมีผู้นับถือว่าแม่นยำ จึงศึกษาเล่าเรียนสืบกันมาจนถึงปัจจุบัน

ขณะที่ตามพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 1 บันทึกไว้ว่ากรมพระราชวังบวรจับอุบากองนายทัพพม่าเป็นเชลยได้ ใน พ.ศ.2338 เมื่อพม่ายกทัพมาล้อมเชียงใหม่ อุบากองถูกจำขังอยู่ในคุกหลวงถึงเจ็กปี อุบากองผูกมิตรกับผู้คุมและนักโทษตลอดจนคนไทยชาวบ้าน ทำลูกประคำจากปูนแดงและหินอ่อนทำนองเครื่องรางของขลังขาย ได้เงินมาก็แบ่งให้ผู้คุม ผู้คุมจึงยอมให้ไปไหนมาไหนและเที่ยวเตร่นอกคุกได้

อุบากองมียันต์สำหรับคำนวณฤกษ์ยามสักติดแขน สันนิษฐานกันว่าเป็นรูปยันต์สี่เหลี่ยมขมวดเป็นห่วงสี่มุมอย่างยันต์ทั่วไป อุบากองบอกยันต์ดูฤกษ์ยามนี้แก่คนไทยที่สนิทสนมกัน แล้วจำกันมาต่อๆ จนอุบากองหนีคุกเมื่อ พ.ศ.2345 ยันต์ที่แขนก็คือยันต์ดูฤกษ์ยามที่ต่อมาเรียกกันว่า ยามอุบากองนั่นเอง

ยามอุบากอง 2567 ยามอุบากองคืออะไร พร้อมวิธีดูฤกษ์เดินทาง ฤกษ์ออกรถแบบยามอุบากอง

วิธีดูฤกษ์เดินทางแบบยามอุบากอง

ยามอุบากองมีตารางการอ่านชัดเจน กำหนดด้วยศูนย์ (วงกลม) และกากบาท ดังนี้

เวลา

เช้า

สาย

เที่ยง

บ่าย

เย็น

กลางวัน 06:01 น.-08:24 น. 08:25 น.-10:48 น. 10:42 น.-13:12 น. 13:13 น.-15:36 น. 15:37 น.-18:00 น.
กลางคืน 18:01 น.-20:24 น. 20:25 น.-22:48 น. 22:49 น.-01:12 น. 01:13 น.-03:36 น. 03:37 น.-06:00 น.
วันอาทิตย์ ●●●●

X

●●

วันจันทร์

●●●●

X

●●
วันอังคาร ●●

●●●●

X

วันพุธ ●●

●●●●

X

วันพฤหัสบดี

X

●●

●●●●
วันศุกร์ ●●●●

X

●●

วันเสาร์

●●●●

X

●●
ยามอุบากอง 2567 ยามอุบากองคืออะไร พร้อมวิธีดูฤกษ์เดินทาง ฤกษ์ออกรถแบบยามอุบากอง

วิธีการอ่านที่เหล่าอาจารย์ได้เรียบเรียงเป็นคำคล้องจองไว้ว่า

ศูนย์หนึ่งอย่าพึ่งจร แม้ราญรอนจะอัปรา
สองศูนย์เร่งยาตรา จะมีลาภสวัสดี
ปลอดศูนย์พูลสวัสดิ์ ภัยพิบัติลาภบ่มี
กากบาทตัวอัปรีย์ แม้จรลีจะอัปรา
สี่ศูนย์จะพูนผล แม้จรดลดีหนักหนา
มีลาภล้นคณนา เร่งยาตราจะมีชัย
  • จุดสีดำ 1 จุด (ศูนย์ 1 ตัว) ไม่ควรออกเดินทางหรือทำการสำคัญในช่วงวันเวลานี้ เพราะอาจมีอันตรายหรือทำการสิ่งใดจะแพ้พ่าย
  • จุดสีดำ 2 จุด (ศูนย์ 2 ตัว) เหมาะแก่การออกเดินทางหรือดำเนินการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถือเป็นเวลามงคลจะให้โชคให้ลาภกลับมา
  • จุดสีดำ 4 จุด (ศูนย์ 4 ตัว) เหมาะกับการเดินทางเป็นอย่างยิ่ง จะมีโชคลาภและประสบความสำเร็จ ถือเป็นฤกษ์ที่ดี
  • ช่องว่าง ไม่มีสัญลักษณ์ เป็นช่วงเวลากลางๆ ไม่มีทั้งโชคและภัย ใช้ออกเดินทางหรือทำการสำคัญได้
  • กากบาท ไม่ดี เป็นอัปมงคล ห้ามออกเดินทางหรือทำเรื่องสำคัญๆ ในวันเวลานี้โดยเด็ดขาด

การอ่านยามอุบากองมีสามแบบ คือแบบอ้างอิงตามวันและเวลา แบบตามข้างขึ้นข้างแรม และตามดิถีค่ำและเวลา แต่ขอยกตัวอย่างการอ่านยามแบบอ้างอิงตามวันและเวลา ซึ่งเป็นแบบที่เข้าใจง่ายและนิยมใช้ที่สุด เริ่มจากการดูวันที่ตั้งใจออกเดินทางหรือเริ่มทำงานสำคัญว่าเป็นวันไหน อิงตามเวลาโบราณพม่า-ไทยคือ เริ่มนับวันใหม่ตอนเวลา 06.00 น. หากเป็นเวลาเที่ยงคืนถึงหกโมงเช้าให้ย้อนเวลาไป 1 วันตั้งต้น เมื่อได้วันมาแล้วให้ดูสัญลักษณ์ในตาราง หากเป็นฤกษ์ดีโดยตรงจะมีสัญลักษณ์จุด 2 จุดหรือจุด 4 จุด สามารถเริ่มต้นตามตั้งใจหรือเลือกเริ่มต้นในช่วงเหล่านั้นได้ ถ้าไม่สะดวกจะขยับเป็นเวลาที่เป็นช่องเปล่าก็ได้ ขอแค่เลี่ยงกากบาทหรือช่องจุดเดียวไว้เป็นพอ

ยามอุบากอง ข้างขึ้น-ข้างแรม ต่างจากแบบอ้างอิงเวลาอย่างไร

ยามอุบากอง 2567 ยามอุบากองคืออะไร พร้อมวิธีดูฤกษ์เดินทาง ฤกษ์ออกรถแบบยามอุบากอง

ยามอุบากอง แบบอ้างอิงตามข้างขึ้นข้างแรมและเวลาเป็นอีกแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมรองลงมา โดยจะพบเห็นในลักษณะเครื่องรางของขลังเป็นส่วนใหญ่ การเดินยามแบบนี้จะมีการแบ่งช่วงวันและเวลาเหมือนแบบแรก แต่จะใช้ 2 ตารางแยกกันสำหรับในช่วงข้างขึ้นและช่วงข้างแรม โดยในช่วงข้างขึ้นจะใช้ตารางเดียวกับยามอุบากองแบบอ้างอิงเวลา แต่ตารางสำหรับข้างแรมจะกลับตารางจากเย็นไปเช้าแทน ดังนี้

ยามอุบากอง ข้างแรม

เวลา

เช้า

สาย

เที่ยง

บ่าย

เย็น

กลางวัน 15:37 น.-18:00 น. 13:13 น.-15:36 น. 10:42 น.-13:12 น. 08:25 น.-10:48 น. 06:01 น.-08:24 น.
กลางคืน 03:37 น.-06:00 น. 01:13 น.-03:36 น. 22:49 น.-01:12 น. 20:25 น.-22:48 น. 18:01 น.-20:24 น.
วันอาทิตย์ ●●●●

X

●●

วันจันทร์

●●●●

X

●●
วันอังคาร ●●

●●●●

X

วันพุธ ●●

●●●●

X

วันพฤหัสบดี

X

●●

●●●●
วันศุกร์ ●●●●

X

●●

วันเสาร์

●●●●

X

●●
ซื้อรถยนต์มือสอง CARS24

สำหรับใครที่อยากซื้อ-ขาย-เทิร์น จบในที่เดียว CARS24 พร้อมให้บริการและมีรถมือสองให้เลือกกว่า 1,000 คัน จะเลือกซื้อหรือขายรถผ่านเว็บไซต์ หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นได้ที่ App Store และ Google Play สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร.02 028 7428 ติดต่อได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00-18.00 น.

สายมูน่าจะคุ้นหูคุ้นตากับ ยามอุบากอง กันดี ในฐานะฤกษ์ยามแห่งการเริ่มต้นลงมือทำใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง ไม่ว่าจะเดินทางไกล ออกท่องเที่ยว เดินทางไปเสนองานลูกค้า กระทั่งการออกรถใหม่ ซึ่งรถก็คือพาหนะแห่งการเดินทาง แต่ครั้งนี้ขอเล่าเพิ่มเติมถึงว่า ยามอุบากอง ซึ่งเป็นฤกษ์ยามที่เป็นศาสตร์การคำนวณจากฝั่งพม่านี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมจึงเป็นฤกษ์สำคัญของการเดินทางในไทย พร้อมวิธีการคำนวณเบื้องต้น จบในหนึ่งบทกลอน สามารถประยุกต์ใช้โดยคร่าว (ส่วนการเดินทางที่สำคัญมากๆ จะอาศัยความเก๋าของหมอดูประจำตัวก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย)

ยามอุบากอง 2567 ยามอุบากองคืออะไร พร้อมวิธีดูฤกษ์เดินทาง ฤกษ์ออกรถแบบยามอุบากอง

ยามอุบากอง คืออะไร

กับจุดเริ่มต้นจากประวัติศาสตร์แหกคุก

ตามตำราพรหมชาติ ตำราวิชาโหราศาสตร์โบราณของไทย อธิบายถึงยามอุบากองไว้ว่า เดิมอุบากองเป็นชื่อนายทหารยศขุนพลของพม่าที่คุมกำลังเข้าโจมตีเมืองเชียงใหม่เมื่อแรม ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะเมีย พ.ศ. 2340 แต่ถูกฝ่ายไทยจับกุมตัวได้

คราวนั้นพ่อเมืองเชียงใหม่ได้คุมตัวอุบากองส่งลงมายังกรุงเทพฯ เมื่อขึ้น ๘ ค่ำ เดือนหก(6) ปีมะเมีย พ.ศ. 2340 สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงสั่งให้สอบสวนอุบากองทันที ปรากฏว่า อุบากองเป็นคนไทย เกิดในเมืองไทย แม้มีพ่อเป็นเชื้อสายพม่าแต่แม่เป็นเชื้อสายคนไทยแถบเมืองธนบุรี พระองค์จึงทรงพระเมตตา พระราชทาน เสื้อผ้า และให้นำไปจำขังไว้ที่คุกวัดโพธาราม หรือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในปัจจุบัน

ระหว่างถูกคุมขังที่คุกวัดโพธิ์ เขาได้สอนตำรายันต์ยามยาตราซึ่งสามารถแหกคุกที่คุมขังได้ให้กับพรรคพวก เมื่อพรรคพวกสามารถเรียนยามยาตราได้แล้วอุบากองก็ทำพิธีตามหลักโหราศาสตร์ พอได้ฤกษ์งามยามดีก็พากันแหกคุกวัดโพธิ์ หลบหนีไปยังเมืองพม่าได้อย่างปลอดภัย แต่มีนักโทษพม่าเชื้อสายไทยบางคนไม่ได้หลบหนีไปด้วยพวกเขาจึงบอกเรื่องยามยาตรานี้กับผู้คุมนักโทษ จึงมีการนำมาเล่าเรียนกันและให้ชื่อยามยาตรานี้ว่า "ยามอุบากอง" ตามชื่อเจ้าของและเพราะมีผู้นับถือว่าแม่นยำ จึงศึกษาเล่าเรียนสืบกันมาจนถึงปัจจุบัน

ขณะที่ตามพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 1 บันทึกไว้ว่ากรมพระราชวังบวรจับอุบากองนายทัพพม่าเป็นเชลยได้ ใน พ.ศ.2338 เมื่อพม่ายกทัพมาล้อมเชียงใหม่ อุบากองถูกจำขังอยู่ในคุกหลวงถึงเจ็กปี อุบากองผูกมิตรกับผู้คุมและนักโทษตลอดจนคนไทยชาวบ้าน ทำลูกประคำจากปูนแดงและหินอ่อนทำนองเครื่องรางของขลังขาย ได้เงินมาก็แบ่งให้ผู้คุม ผู้คุมจึงยอมให้ไปไหนมาไหนและเที่ยวเตร่นอกคุกได้

อุบากองมียันต์สำหรับคำนวณฤกษ์ยามสักติดแขน สันนิษฐานกันว่าเป็นรูปยันต์สี่เหลี่ยมขมวดเป็นห่วงสี่มุมอย่างยันต์ทั่วไป อุบากองบอกยันต์ดูฤกษ์ยามนี้แก่คนไทยที่สนิทสนมกัน แล้วจำกันมาต่อๆ จนอุบากองหนีคุกเมื่อ พ.ศ.2345 ยันต์ที่แขนก็คือยันต์ดูฤกษ์ยามที่ต่อมาเรียกกันว่า ยามอุบากองนั่นเอง

ยามอุบากอง 2567 ยามอุบากองคืออะไร พร้อมวิธีดูฤกษ์เดินทาง ฤกษ์ออกรถแบบยามอุบากอง

วิธีดูฤกษ์เดินทางแบบยามอุบากอง

ยามอุบากองมีตารางการอ่านชัดเจน กำหนดด้วยศูนย์ (วงกลม) และกากบาท ดังนี้

เวลา

เช้า

สาย

เที่ยง

บ่าย

เย็น

กลางวัน 06:01 น.-08:24 น. 08:25 น.-10:48 น. 10:42 น.-13:12 น. 13:13 น.-15:36 น. 15:37 น.-18:00 น.
กลางคืน 18:01 น.-20:24 น. 20:25 น.-22:48 น. 22:49 น.-01:12 น. 01:13 น.-03:36 น. 03:37 น.-06:00 น.
วันอาทิตย์ ●●●●

X

●●

วันจันทร์

●●●●

X

●●
วันอังคาร ●●

●●●●

X

วันพุธ ●●

●●●●

X

วันพฤหัสบดี

X

●●

●●●●
วันศุกร์ ●●●●

X

●●

วันเสาร์

●●●●

X

●●
ยามอุบากอง 2567 ยามอุบากองคืออะไร พร้อมวิธีดูฤกษ์เดินทาง ฤกษ์ออกรถแบบยามอุบากอง

วิธีการอ่านที่เหล่าอาจารย์ได้เรียบเรียงเป็นคำคล้องจองไว้ว่า

ศูนย์หนึ่งอย่าพึ่งจร แม้ราญรอนจะอัปรา
สองศูนย์เร่งยาตรา จะมีลาภสวัสดี
ปลอดศูนย์พูลสวัสดิ์ ภัยพิบัติลาภบ่มี
กากบาทตัวอัปรีย์ แม้จรลีจะอัปรา
สี่ศูนย์จะพูนผล แม้จรดลดีหนักหนา
มีลาภล้นคณนา เร่งยาตราจะมีชัย
  • จุดสีดำ 1 จุด (ศูนย์ 1 ตัว) ไม่ควรออกเดินทางหรือทำการสำคัญในช่วงวันเวลานี้ เพราะอาจมีอันตรายหรือทำการสิ่งใดจะแพ้พ่าย
  • จุดสีดำ 2 จุด (ศูนย์ 2 ตัว) เหมาะแก่การออกเดินทางหรือดำเนินการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถือเป็นเวลามงคลจะให้โชคให้ลาภกลับมา
  • จุดสีดำ 4 จุด (ศูนย์ 4 ตัว) เหมาะกับการเดินทางเป็นอย่างยิ่ง จะมีโชคลาภและประสบความสำเร็จ ถือเป็นฤกษ์ที่ดี
  • ช่องว่าง ไม่มีสัญลักษณ์ เป็นช่วงเวลากลางๆ ไม่มีทั้งโชคและภัย ใช้ออกเดินทางหรือทำการสำคัญได้
  • กากบาท ไม่ดี เป็นอัปมงคล ห้ามออกเดินทางหรือทำเรื่องสำคัญๆ ในวันเวลานี้โดยเด็ดขาด

การอ่านยามอุบากองมีสามแบบ คือแบบอ้างอิงตามวันและเวลา แบบตามข้างขึ้นข้างแรม และตามดิถีค่ำและเวลา แต่ขอยกตัวอย่างการอ่านยามแบบอ้างอิงตามวันและเวลา ซึ่งเป็นแบบที่เข้าใจง่ายและนิยมใช้ที่สุด เริ่มจากการดูวันที่ตั้งใจออกเดินทางหรือเริ่มทำงานสำคัญว่าเป็นวันไหน อิงตามเวลาโบราณพม่า-ไทยคือ เริ่มนับวันใหม่ตอนเวลา 06.00 น. หากเป็นเวลาเที่ยงคืนถึงหกโมงเช้าให้ย้อนเวลาไป 1 วันตั้งต้น เมื่อได้วันมาแล้วให้ดูสัญลักษณ์ในตาราง หากเป็นฤกษ์ดีโดยตรงจะมีสัญลักษณ์จุด 2 จุดหรือจุด 4 จุด สามารถเริ่มต้นตามตั้งใจหรือเลือกเริ่มต้นในช่วงเหล่านั้นได้ ถ้าไม่สะดวกจะขยับเป็นเวลาที่เป็นช่องเปล่าก็ได้ ขอแค่เลี่ยงกากบาทหรือช่องจุดเดียวไว้เป็นพอ

ยามอุบากอง ข้างขึ้น-ข้างแรม ต่างจากแบบอ้างอิงเวลาอย่างไร

ยามอุบากอง 2567 ยามอุบากองคืออะไร พร้อมวิธีดูฤกษ์เดินทาง ฤกษ์ออกรถแบบยามอุบากอง

ยามอุบากอง แบบอ้างอิงตามข้างขึ้นข้างแรมและเวลาเป็นอีกแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมรองลงมา โดยจะพบเห็นในลักษณะเครื่องรางของขลังเป็นส่วนใหญ่ การเดินยามแบบนี้จะมีการแบ่งช่วงวันและเวลาเหมือนแบบแรก แต่จะใช้ 2 ตารางแยกกันสำหรับในช่วงข้างขึ้นและช่วงข้างแรม โดยในช่วงข้างขึ้นจะใช้ตารางเดียวกับยามอุบากองแบบอ้างอิงเวลา แต่ตารางสำหรับข้างแรมจะกลับตารางจากเย็นไปเช้าแทน ดังนี้

ยามอุบากอง ข้างแรม

เวลา

เช้า

สาย

เที่ยง

บ่าย

เย็น

กลางวัน 15:37 น.-18:00 น. 13:13 น.-15:36 น. 10:42 น.-13:12 น. 08:25 น.-10:48 น. 06:01 น.-08:24 น.
กลางคืน 03:37 น.-06:00 น. 01:13 น.-03:36 น. 22:49 น.-01:12 น. 20:25 น.-22:48 น. 18:01 น.-20:24 น.
วันอาทิตย์ ●●●●

X

●●

วันจันทร์

●●●●

X

●●
วันอังคาร ●●

●●●●

X

วันพุธ ●●

●●●●

X

วันพฤหัสบดี

X

●●

●●●●
วันศุกร์ ●●●●

X

●●

วันเสาร์

●●●●

X

●●
ซื้อรถยนต์มือสอง CARS24

สำหรับใครที่อยากซื้อ-ขาย-เทิร์น จบในที่เดียว CARS24 พร้อมให้บริการและมีรถมือสองให้เลือกกว่า 1,000 คัน จะเลือกซื้อหรือขายรถผ่านเว็บไซต์ หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นได้ที่ App Store และ Google Play สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร.02 028 7428 ติดต่อได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00-18.00 น.

อ่านเพิ่มเติม