'ไหว้แม่ย่านางรถ' ต้องใช้อะไรบ้าง รู้ไว้ก่อนออกรถคันใหม่ให้ปั๊วะปัง!
คนไทยเรามีความเชื่อสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นที่ว่า ก่อนจะออกรถต้องทำพิธีไหว้แม่ย่านาง เพื่อความเป็นสิริมงคล โชคดี แคล้วคลาด และโชคลาภ เพราะ “แม่ย่านาง” เปรียบเสมือนนางฟ้าที่จะคอยคุ้มครองป้องกันอันตรายในทุกเส้นทาง CARS24 มัดรวมวิธีในการบูชาแม่ย่านางที่คุณควรรู้!
“แม่ย่านาง” มาจากไหน?
ย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยที่คนไทยยังใช้ เรือ เป็นยานพาหนะในการเดินทาง ความเชื่อเรื่องแม่ย่านางมาจากคนโบราณที่เล่าต่อๆ กันมา โดยตำนาน “แม่ย่านาง” มีที่มาจากหลายความเชื่อ ทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ในส่วนของพราหมณ์-ฮินดู เชื่อกันว่า สมัยก่อนพระอิศวรและพระแม่อุมาเทวี ได้รับการร้องเรียนจากกุ้งในแม่น้ำต่างๆ ว่าพวกตนเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ต่อสู้กับสัตว์อื่นในน้ำไม่ได้ พระแม่อุมาจึงดลบันดาลให้กุ้งมีอาวุธเป็นปลายแหมอยู่บริเวณหัวและคาง แต่กลายเป็นว่า พวกกุ้งกลับวางแผนโจมตีเรือที่ผ่านลุ่มแม่น้ำและเอาหัวแหลมเจาะเรือให้จมลงสู่ก้นทะเล เดือดร้อนไปถึงพระแม่อุมาเทวีต้องสั่งการให้แม่ย่านางคืนความสงบสุขให้มนุษย์อีกครั้ง นับแต่นั้นมาชาวประมงจึงศรัทธาและนิยมไหว้แม่ย่านางก่อนเดินเรือทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยนั่นเอง
อีกหนึ่งตำนานเกิดขึ้นสมัยต้นราชวงศ์ชิง เชื่อกันว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดคลื่นลมโหมกระหน่ำในท้องทะเล ชาวประมงจะอธิษฐานขอพรจาก “หม่าโจ้ว” หรือ “มาจู่”เทพธิดาแห่งท้องทะเล ที่เชื่อกันว่า สถิตอยู่บริเวณหัวเรือคอยปกป้องคุ้มครองผู้เดินทางในทะเล คนไทยสมัยอยุธยา-ต้นรัตนโกสินทร์เรียกตามเสียงจีน ฮกเกี้ยนว่า “พระหมาจ่อ” หรือ “หมาจอ” (จีนกลางว่า มาจู่ แต้จิ๋วว่า มาโจ้ว) องค์นี้เป็นที่มาของแม่ย่านางของไทย มีศาลอยู่ในชุมชนจีนแทบทุกแห่ง โดยศาลใหญของท่านอยู่ที่เชิงสะพานซังฮี้ฝั่งกรงุเทพฯ
ขั้นตอนการไหว้แม่ย่านาง
- เตรียมชุดของไหว้วางไว้บนโต๊ะ แล้ววางบริเวณหน้ารถ (อาทิ ผลไม้ 5 อย่าง, ข้าวสาร 1 ถ้วย, หมากพลู และยาสูบ เป็นต้น)
- สตาร์ทรถ จากนั้นให้บีบแตร 3 ครั้ง
- จุดธูป 9 ดอก
- กล่าวคำถวายของไหว้แม่ย่านางรถ แล้วตั้งจิตอธิษฐาน ขอให้ขับขี่ปลอดภัย แคล้วคลาด โชคดี และเสริมสิริมงคลให้กับชีวิต
- รอจนกว่าธูปจะหมดดอก แล้วจึงจุดยาสูบ 3 มวนให้เจ้าที่ เมื่อยาสูบหมดมวนให้กล่าวคำลาของไหว้แม่ย่านางรถ
ของไหว้และความหมายมงคล

ดอกไม้ไหว้แม่ย่านางรถ

วันออกรถใหม่และมีการไหว้แม่ย่านางรถ ความเชื่อทางโหราศาสตร์แนะนำให้ใช้พวงมาลัยจำนวน 3 พวง โดยเลือกจากสีที่ถูกโฉลกตามวันเกิด หรือริบบินที่ใช้ร้อยพวงมาลัย และแขวนไว้ที่กระจกมองหลัง หรือพวงมาลัยรถยนต์ เช่น
- คนเกิดวันจันทร์ ควรใช้พวงมาลัยที่ประดับด้วยริบบินสีม่วง
- คนเกิดวันอังคาร ควรใช้พวงมาลัยที่ประดับด้วยริบบินสีน้ำเงิน
- คนเกิดวันพุธ ควรใช้พวงมาลัยที่ประดับด้วยริบบินสีเหลือง
- คนเกิดวันพฤหัสบดี ควรใช้พวงมาลัยที่ประดับด้วยริบบินสีแดง
- คนเกิดวันศุกร์ ควรใช้พวงมาลัยที่ประดับด้วยริบบินสีชมพู
- คนเกิดวันเสาร์ ควรใช้พวงมาลัยที่ประดับด้วยริบบินสีฟ้า
- คนเกิดวันอาทิตย์ ควรใช้พวงมาลัยที่ประดับด้วยริบบินสีเขียว
ส่วนคนรุ่นใหม่อาจจะอยากได้ความสดชื่นรื่นรมย์ก็สามารถเลือกดอกไม้สวย ๆ วางไว้หน้ารถเพื่อความเป็นสิริมงคล ส่วนดอกไม้แต่ละชนิดจะมีความหมายอย่างไรบ้าง เลือกตามที่คุณต้องการได้เลย

- ดอกกุหลาบ: เป็นที่รักใคร่ชื่นชม เสริมดวงเรื่องความรัก
- ดอกดาวเรือง: เสริมดวงด้านการค้าขาย เจริญรุ่งเรือง เงินทองมั่งคั่ง
- ดอกบานไม่รู้โรย: เสริมสิริมงคลให้ครอบครัวรักกันนาน ๆ และมั่นคง
- ดอกจำปา: เสริมโชคลาภวาสนา
- ดอกกล้วยไม้ หรือดอกเบญจมาศ: ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน
- ดอกลิลลี่: ช่วยให้สมหวังและคิดสิ่งใดก็สมปราถนา
- ดอกเยอบีร่าสีชมพู: เป็นที่นับหน้าถือตาของผู้คน มีแรงบันดาลใจดี ๆ ในชีวิต
คำถวายของไหว้แม่ย่านางรถ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ)
สุทินนัง วัตถุทานัง อาสะวะ ขะยาวะหัง โหตุ
ทุติยัมปิ สุทินนัง วัตถุทานัง อาสะวะ ขะยาวะหัง โหตุ
ตะติยัม สุทินนัง วัตถุทานัง อาสะวะ ขะยาวะหัง โหตุ
ลูกขอถวายสิ่งเหล่านี้แก่แม่ย่านางรถ ขอท่านจงรับซึ่งสิ่งเหล่านี้เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ลูกทั้งหลายเทอญ สาธุ
คำลาของไหว้แม่ย่านางรถ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ( ว่า 3 จบ )
พุทธังลา ธัมมังลา สังฆังลา ข้าพเจ้าขอลาสิ่งของเหล่านี้เพื่อให้เป็นทานต่อไป และเพื่อเป็นยารักษาโรค อย่าให้เกิดโทษใด ๆ เลย เสสัง มังคะลายาจามะ
วันและเวลาที่ควรไหว้แม่ย่านางรถ
ตามธรรมเนียมนิยมไหว้แม่ย่านางรถในช่วงวันสงกรานต์ หรือวันตรุษจีน บางคนก็ถือฤกษ์สะดวก และฤกษ์ออกรถตามที่หมอดูแนะนำมา ส่วนคนที่ต้องใช้รถทำมาหากินและต้องเดินทางไกลเป็นประจำ หมอดูแนะนำให้ไหว้ปีละ 2 ครั้ง เพื่อความเป็นสิริมงคล ความปลอดภัย และความแคล้วคลาด โดยการไหว้แม่ย่านางรถนิยมทำในตอนเช้า ควรหันรถและของไหว้ต่างๆ ไปทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือ
ข้อควรระวังในการทำพิธีไหว้แม่ย่านาง
ไม่ควรมัดธูปและเทียนไว้กระจังหน้ารถ เพราะอาจจะทำให้เกิดไฟไหม้รถ ทุกครั้งที่จุดธูปเทียนควรเฝ้ารอจนกว่าไฟจะดับ ก่อนจะกล่าวคำลาของไหว้แม่ย่านางรถ ทางที่ดีควรหากระถางปักธูปที่ปลอดภัย เน้นห่างจากรถไว้ก่อนจะดีกว่า
คนไทยเรามีความเชื่อสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นที่ว่า ก่อนจะออกรถต้องทำพิธีไหว้แม่ย่านาง เพื่อความเป็นสิริมงคล โชคดี แคล้วคลาด และโชคลาภ เพราะ “แม่ย่านาง” เปรียบเสมือนนางฟ้าที่จะคอยคุ้มครองป้องกันอันตรายในทุกเส้นทาง CARS24 มัดรวมวิธีในการบูชาแม่ย่านางที่คุณควรรู้!
“แม่ย่านาง” มาจากไหน?
ย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยที่คนไทยยังใช้ เรือ เป็นยานพาหนะในการเดินทาง ความเชื่อเรื่องแม่ย่านางมาจากคนโบราณที่เล่าต่อๆ กันมา โดยตำนาน “แม่ย่านาง” มีที่มาจากหลายความเชื่อ ทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ในส่วนของพราหมณ์-ฮินดู เชื่อกันว่า สมัยก่อนพระอิศวรและพระแม่อุมาเทวี ได้รับการร้องเรียนจากกุ้งในแม่น้ำต่างๆ ว่าพวกตนเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ต่อสู้กับสัตว์อื่นในน้ำไม่ได้ พระแม่อุมาจึงดลบันดาลให้กุ้งมีอาวุธเป็นปลายแหมอยู่บริเวณหัวและคาง แต่กลายเป็นว่า พวกกุ้งกลับวางแผนโจมตีเรือที่ผ่านลุ่มแม่น้ำและเอาหัวแหลมเจาะเรือให้จมลงสู่ก้นทะเล เดือดร้อนไปถึงพระแม่อุมาเทวีต้องสั่งการให้แม่ย่านางคืนความสงบสุขให้มนุษย์อีกครั้ง นับแต่นั้นมาชาวประมงจึงศรัทธาและนิยมไหว้แม่ย่านางก่อนเดินเรือทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยนั่นเอง
อีกหนึ่งตำนานเกิดขึ้นสมัยต้นราชวงศ์ชิง เชื่อกันว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดคลื่นลมโหมกระหน่ำในท้องทะเล ชาวประมงจะอธิษฐานขอพรจาก “หม่าโจ้ว” หรือ “มาจู่”เทพธิดาแห่งท้องทะเล ที่เชื่อกันว่า สถิตอยู่บริเวณหัวเรือคอยปกป้องคุ้มครองผู้เดินทางในทะเล คนไทยสมัยอยุธยา-ต้นรัตนโกสินทร์เรียกตามเสียงจีน ฮกเกี้ยนว่า “พระหมาจ่อ” หรือ “หมาจอ” (จีนกลางว่า มาจู่ แต้จิ๋วว่า มาโจ้ว) องค์นี้เป็นที่มาของแม่ย่านางของไทย มีศาลอยู่ในชุมชนจีนแทบทุกแห่ง โดยศาลใหญของท่านอยู่ที่เชิงสะพานซังฮี้ฝั่งกรงุเทพฯ
ขั้นตอนการไหว้แม่ย่านาง
- เตรียมชุดของไหว้วางไว้บนโต๊ะ แล้ววางบริเวณหน้ารถ (อาทิ ผลไม้ 5 อย่าง, ข้าวสาร 1 ถ้วย, หมากพลู และยาสูบ เป็นต้น)
- สตาร์ทรถ จากนั้นให้บีบแตร 3 ครั้ง
- จุดธูป 9 ดอก
- กล่าวคำถวายของไหว้แม่ย่านางรถ แล้วตั้งจิตอธิษฐาน ขอให้ขับขี่ปลอดภัย แคล้วคลาด โชคดี และเสริมสิริมงคลให้กับชีวิต
- รอจนกว่าธูปจะหมดดอก แล้วจึงจุดยาสูบ 3 มวนให้เจ้าที่ เมื่อยาสูบหมดมวนให้กล่าวคำลาของไหว้แม่ย่านางรถ
ของไหว้และความหมายมงคล

ดอกไม้ไหว้แม่ย่านางรถ

วันออกรถใหม่และมีการไหว้แม่ย่านางรถ ความเชื่อทางโหราศาสตร์แนะนำให้ใช้พวงมาลัยจำนวน 3 พวง โดยเลือกจากสีที่ถูกโฉลกตามวันเกิด หรือริบบินที่ใช้ร้อยพวงมาลัย และแขวนไว้ที่กระจกมองหลัง หรือพวงมาลัยรถยนต์ เช่น
- คนเกิดวันจันทร์ ควรใช้พวงมาลัยที่ประดับด้วยริบบินสีม่วง
- คนเกิดวันอังคาร ควรใช้พวงมาลัยที่ประดับด้วยริบบินสีน้ำเงิน
- คนเกิดวันพุธ ควรใช้พวงมาลัยที่ประดับด้วยริบบินสีเหลือง
- คนเกิดวันพฤหัสบดี ควรใช้พวงมาลัยที่ประดับด้วยริบบินสีแดง
- คนเกิดวันศุกร์ ควรใช้พวงมาลัยที่ประดับด้วยริบบินสีชมพู
- คนเกิดวันเสาร์ ควรใช้พวงมาลัยที่ประดับด้วยริบบินสีฟ้า
- คนเกิดวันอาทิตย์ ควรใช้พวงมาลัยที่ประดับด้วยริบบินสีเขียว
ส่วนคนรุ่นใหม่อาจจะอยากได้ความสดชื่นรื่นรมย์ก็สามารถเลือกดอกไม้สวย ๆ วางไว้หน้ารถเพื่อความเป็นสิริมงคล ส่วนดอกไม้แต่ละชนิดจะมีความหมายอย่างไรบ้าง เลือกตามที่คุณต้องการได้เลย

- ดอกกุหลาบ: เป็นที่รักใคร่ชื่นชม เสริมดวงเรื่องความรัก
- ดอกดาวเรือง: เสริมดวงด้านการค้าขาย เจริญรุ่งเรือง เงินทองมั่งคั่ง
- ดอกบานไม่รู้โรย: เสริมสิริมงคลให้ครอบครัวรักกันนาน ๆ และมั่นคง
- ดอกจำปา: เสริมโชคลาภวาสนา
- ดอกกล้วยไม้ หรือดอกเบญจมาศ: ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน
- ดอกลิลลี่: ช่วยให้สมหวังและคิดสิ่งใดก็สมปราถนา
- ดอกเยอบีร่าสีชมพู: เป็นที่นับหน้าถือตาของผู้คน มีแรงบันดาลใจดี ๆ ในชีวิต
คำถวายของไหว้แม่ย่านางรถ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ)
สุทินนัง วัตถุทานัง อาสะวะ ขะยาวะหัง โหตุ
ทุติยัมปิ สุทินนัง วัตถุทานัง อาสะวะ ขะยาวะหัง โหตุ
ตะติยัม สุทินนัง วัตถุทานัง อาสะวะ ขะยาวะหัง โหตุ
ลูกขอถวายสิ่งเหล่านี้แก่แม่ย่านางรถ ขอท่านจงรับซึ่งสิ่งเหล่านี้เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ลูกทั้งหลายเทอญ สาธุ
คำลาของไหว้แม่ย่านางรถ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ( ว่า 3 จบ )
พุทธังลา ธัมมังลา สังฆังลา ข้าพเจ้าขอลาสิ่งของเหล่านี้เพื่อให้เป็นทานต่อไป และเพื่อเป็นยารักษาโรค อย่าให้เกิดโทษใด ๆ เลย เสสัง มังคะลายาจามะ
วันและเวลาที่ควรไหว้แม่ย่านางรถ
ตามธรรมเนียมนิยมไหว้แม่ย่านางรถในช่วงวันสงกรานต์ หรือวันตรุษจีน บางคนก็ถือฤกษ์สะดวก และฤกษ์ออกรถตามที่หมอดูแนะนำมา ส่วนคนที่ต้องใช้รถทำมาหากินและต้องเดินทางไกลเป็นประจำ หมอดูแนะนำให้ไหว้ปีละ 2 ครั้ง เพื่อความเป็นสิริมงคล ความปลอดภัย และความแคล้วคลาด โดยการไหว้แม่ย่านางรถนิยมทำในตอนเช้า ควรหันรถและของไหว้ต่างๆ ไปทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือ
ข้อควรระวังในการทำพิธีไหว้แม่ย่านาง
ไม่ควรมัดธูปและเทียนไว้กระจังหน้ารถ เพราะอาจจะทำให้เกิดไฟไหม้รถ ทุกครั้งที่จุดธูปเทียนควรเฝ้ารอจนกว่าไฟจะดับ ก่อนจะกล่าวคำลาของไหว้แม่ย่านางรถ ทางที่ดีควรหากระถางปักธูปที่ปลอดภัย เน้นห่างจากรถไว้ก่อนจะดีกว่า