ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ คืออะไร ดีไหม เหมาะกับใครบ้าง

การปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ คืออะไร ดีไหม มีกี่รูปแบบ แต่ละแบบเหมาะกับใครบ้าง รู้จักการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ตัวช่วยผู้เช่าซื้อรถช่วงเศรษฐกิจติดขัด อ่านเลย

CARS24
CARS24
| อ่าน 1 นาที

ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยประกอบกับราคาของกินของใช้ที่แพงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้หลายครอบครัวอาจกำลังคิดหาทางลดภาระค่าใช้จ่าย ที่แต่ละเดือนต้องแบกรับเกินกว่ารายได้ที่เข้ามา หลายคนอาจมีค่าผ่อนหนี้สินหลายตัวเข้ามาพร้อมกัน และการผ่อนรถยนต์ก็เป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายรายเดือนที่สามารถปรับเปลี่ยนให้ลดลงเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้เจ้าของรถได้ และสถาบันการเงินหลายแห่งก็ให้โอกาสลูกค้าของตนด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับคนที่ผ่อนรถไม่ไหว แต่การปรับโครงหนี้รถยนต์นั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยในหลายมิติ ทั้งเงื่อนไขการเปลี่ยนสัญญาสินเชื่อ ไปจนถึงวิธีการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ ก็มีให้ผู้เช่าซื้อรถเลือกหลายแบบ ดังนั้น จึงควรศึกษาเงื่อนไขและวิธีปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ให้เข้าใจก่อนตัดสินใจ ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์

ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ คืออะไร

ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ คืออะไร ดีไหม เหมาะกับใครบ้าง

ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ คือ การเปลี่ยนสัญญาสินเชื่อ เพื่อเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้ที่ยังเหลือคงค้าง โดยเป็นการเจรจาระหว่างผู้เช่าซื้อรถยนต์กับสถาบันการเงินเจ้าของสัญญาสินเชื่อ และเมื่อปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์แล้ว จะทำให้ผู้เช่าซื้อ ที่มีปัญหาผ่อนค่างวดรถ สามารถผ่อนรถยนต์ต่อไปได้ โดยไม่ขัดกับกฎหมายและจะไม่เกิดปัญหาตามมาในอนาคต

ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ ดีไหม

ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ คืออะไร ดีไหม เหมาะกับใครบ้าง

ข้อดีของการปรับโครงสร้างหนี้ คือ ช่วยยืดเวลาให้ผู้เช่าซื้อรถยนต์ในการหาเงินมาชำระหนี้ออกไปอีกในกรณีที่ผู้เช่าซื้อรถหาเงินมาผ่อนชำระค่างวดไม่ทันตามสัญญาเดิม ไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านกฎหมายตามมาจากการผิดสัญญา ทั้งยังไม่ทำให้มีประวัติค้างชำระกับเครดิตบูโร และทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินไม่ได้อีกในอนาคต ส่วนข้อเสียก็คือ สถาบันการเงินจะรวมยอดหนี้คงค้างของลูกค้ามาคิดรวบยอดทั้งหมด ซึ่งเป็นยอดหนี้ที่รวมทั้งค่าปรับ ค่าเสียเวลาติดตาม และดอกเบี้ยคงค้างต่างๆ ซึ่งเป็นยอดหนี้ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม

สิ่งสำคัญที่ผู้เช่าซื้อต้องคำนึงและใช้พิจารณาในการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ มีอยู่ด้วยกัน 2 ปัจจัย ได้แก่

1.) ยอดผ่อนชำระต่อเดือน

คำนวณให้ดีว่า จำนวนเงินรายรับต่อเดือนของตัวเองที่สามารถใช้ผ่อนชำระค่างวดรถได้นั้นไหวที่จำนวนเท่าไหร่ เพื่อมองหาเงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ ที่ช่วยลดจำนวนค่าผ่อนต่องวดลงให้เท่ากับจำนวนเงินที่เราสามารถผ่อนได้

2.) ระยะเวลาผ่อนชำระ

อีกอย่างก็คือระยะเวลาในการผ่อนชำระภายใต้เงื่อนไขใหม่ต้องสอดคล้องกับค่าผ่อนในแต่ละเดือน ทั้งนี้ ถ้าหากเปลี่ยนสัญญาสินเชื่อพร้อมกับเงื่อนไขแล้ว ผู้เช่าซื้อยังไม่สามารถผ่อนชำระได้ตามสัญญาใหม่ ก็จะทำให้เกิดปัญหาและค่าใช้จ่ายมากมายตามมาเช่นเดิม

เงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้เป็นอย่างไร

การปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์จะมีเงื่อนไขแตกต่างออกไปตามแต่ละสถาบันการเงินจะกำหนดขึ้น แต่โดยพื้นฐานแล้ว เงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้มีดังนี้

  1. ต้องเป็นรถยนต์ที่มีการจดทะเบียนและต่อภาษีประจำปีมาจนถึงปัจจุบัน
  2. ต้องเป็นรถยนต์ที่ลูกค้าผ่อนชำระค่างวดมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน หรือ 12 งวด
  3. ระยะเวลาขั้นต่ำของการยืดค่างวดที่สามารถทำได้ คือ 48 งวด ซึ่งเมื่อเอาไปรวมกับสัญญาเดิมจะได้สูงสุดไม่เกิน 96 งวด
  4. อัตราดอกเบี้ยใหม่จะคำนวณตามช่วงเวลาที่ต้องการยืดการชำระออกไป ซึ่งแต่ละสถาบันการเงินจะคำนวณไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถาบันการเงินนั้นๆ
  5. ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระค่าคงค้าต่างๆ ให้เรียบร้อยก่อน ถึงจะเปลี่ยนสัญญาปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ได้
  6. การปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ต้องมีผู้ค้ำประกันทุกกรณี
  7. ต้องเป็นรถยนต์ ที่มีสัญญากรมธรรม์ประกันภัยชั้น 1 ที่มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  8. ต้องนำรถมาถ่ายรูปตัวรถ หมายเลขเครื่องยนต์และหมายเลขตัวถังรถ

วิธีการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์มีกี่แบบ เหมาะกับใครบ้าง

ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ คืออะไร ดีไหม เหมาะกับใครบ้าง

วิธีปรับโครงสร้างสร้างหนี้รถยนต์ มีด้วยกัน 2 วิธี คือ ขอเปลี่ยนเป็นการผ่อนแบบขั้นบันได กับวิธียืดขยายเวลาชำระหนี้ออกไปให้นานขึ้น ซึ่งแต่ละวิธีมีรายละเอียดแตกต่างกันดังนี้

1.) เปลี่ยนเป็นการผ่อนแบบขั้นบันได

การผ่อนแบบขั้นบันได คือการเลือกผ่อนค่างวดในช่วงระยะเวลาที่ผู้เช่าซื้อรถยังมีปัญหาในการผ่อนชำระในจำนวนน้อยๆ จนเมื่อสถานการณ์ของผู้เช่าซื้อดีขึ้นก่อน ถึงจะเพิ่มจำนวนผ่อนค่างวดให้มากขึ้นเรื่อยๆ ในรูปแบบขั้นบันได ซึ่งทำให้หลังผ่านช่วงผ่อนน้อยๆ แบบโปรโมชั่นไปแล้ว ผู้เช่าซื้ออาจต้องมีภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากจะใช้วิธีนี้ ต้องวางแผนการเงินให้ดีๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาภายหลัง

2.) ขยายเวลาชำระหนี้

วิธีนี้จะทำให้จำนวนงวดของการผ่อนรถเพิ่มขึ้นจากเดิม แต่จะทำให้ผู้เช่าซื้อแบกรับภาระค่างวดแต่ละรอบเดือนลดน้อยลงกว่าสัญญาเก่า แต่จะมีเงื่อนไขสำคัญว่า หากเลือกวิธีนี้ จะมีเงื่อนไขที่ไม่สามารถขยายระยะเวลาผ่อนได้เกินกว่า 96 งวดรวมกับค่างวดเดิมด้วย ดังนั้นผู้เช่าซื้อควรคำนวณค่างวดใหม่กับระยะเวลาผ่อนที่ยาวขึ้น ว่าหากได้ผ่อนค่างวดแต่ละเดือนลดลง จะได้คุ้มแค่ไหมกับระยะเวลาผ่อนที่เพิ่มมากขึ้น

ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์เหมาะกับใคร

เชื่อว่าสถานการณ์การเงินของแต่ละคนนั้นย่อมแตกต่างกันออกไป ดังนั้นวิธีการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ทั้ง 2 วิธีข้างต้น ก็จะเหมาะกันสถานการณ์ของบุคคลที่แตกต่างกันด้วย

1.) เปลี่ยนเป็นการผ่อนแบบขั้นบันได

เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาการเงินแบบฉุกเฉิน สุดวิสัย เป็นปัญหาการเงินที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว และสามารถแก้ปัญหาได้ในระยะเวลาไม่นานนัก สถานการณ์ก็จะกลับมาเป็นปกติ ทั้งนี้ในช่วงที่เกิดปัญหา ทำให้ผู้เช่าซื้อต้องการปรับค่างวดผ่อนรถต่อเดือนให้เหลือน้อยให้ได้มากที่สุดในทันที แต่ก็ต้องเป็นผู้ที่สามารถรับมือกับค่างวดในเดือนหลังๆ ที่เพิ่มขึ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ ได้เช่นกัน

2.) ขยายเวลาชำระหนี้

เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาการเงินไม่มาก และยังมีความสามารถพอที่จะผ่อนรถต่อไปได้ แต่ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้น้อยลง มีรายได้เข้ามาสมำ่เสมอต่อเนื่องในอนาคต ทำให้สามารถรับมือกับจำนวนงวดที่ต้องผ่อนชำระเพิ่มขึ้นมาได้ในอนาคตโดยไม่ติดขัด หรือรายได้สะดุดอีก

อย่างไรก็ตาม หากใครเริ่มเกิดปัญหาการเงิน จนไม่สามารถผ่อนรถไหวได้เหมือนเดิม ทางออกที่ดีที่สุดนอกจากการ ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ ก็คือการติดต่อเพื่อปรึกษาหาทางออก และวิธีแก้ไขปัญหากับสถาบันการเงินเจ้าของสินเชื่อรถยนต์อย่างเร่งด่วน เพื่อให้สามารถรักษาเครดิตไว้ได้ในอนาคต

ขายรถ ขายรถมือสอง CARS24

สำหรับใครที่อยากซื้อ-ขาย-เทิร์น จบในที่เดียว CARS24 มีรถมือสองให้เลือกกว่า 1,000 คัน พร้อมให้บริการจัดไฟแนนซ์รถมือสอง จะเลือกซื้อหรือขายรถผ่านเว็บไซต์ หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นได้ที่ App Store และ Google Play สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร.02 028 7428 ติดต่อได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00-18.00 น.

ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยประกอบกับราคาของกินของใช้ที่แพงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้หลายครอบครัวอาจกำลังคิดหาทางลดภาระค่าใช้จ่าย ที่แต่ละเดือนต้องแบกรับเกินกว่ารายได้ที่เข้ามา หลายคนอาจมีค่าผ่อนหนี้สินหลายตัวเข้ามาพร้อมกัน และการผ่อนรถยนต์ก็เป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายรายเดือนที่สามารถปรับเปลี่ยนให้ลดลงเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้เจ้าของรถได้ และสถาบันการเงินหลายแห่งก็ให้โอกาสลูกค้าของตนด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับคนที่ผ่อนรถไม่ไหว แต่การปรับโครงหนี้รถยนต์นั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยในหลายมิติ ทั้งเงื่อนไขการเปลี่ยนสัญญาสินเชื่อ ไปจนถึงวิธีการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ ก็มีให้ผู้เช่าซื้อรถเลือกหลายแบบ ดังนั้น จึงควรศึกษาเงื่อนไขและวิธีปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ให้เข้าใจก่อนตัดสินใจ ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์

ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ คืออะไร

ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ คืออะไร ดีไหม เหมาะกับใครบ้าง

ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ คือ การเปลี่ยนสัญญาสินเชื่อ เพื่อเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้ที่ยังเหลือคงค้าง โดยเป็นการเจรจาระหว่างผู้เช่าซื้อรถยนต์กับสถาบันการเงินเจ้าของสัญญาสินเชื่อ และเมื่อปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์แล้ว จะทำให้ผู้เช่าซื้อ ที่มีปัญหาผ่อนค่างวดรถ สามารถผ่อนรถยนต์ต่อไปได้ โดยไม่ขัดกับกฎหมายและจะไม่เกิดปัญหาตามมาในอนาคต

ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ ดีไหม

ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ คืออะไร ดีไหม เหมาะกับใครบ้าง

ข้อดีของการปรับโครงสร้างหนี้ คือ ช่วยยืดเวลาให้ผู้เช่าซื้อรถยนต์ในการหาเงินมาชำระหนี้ออกไปอีกในกรณีที่ผู้เช่าซื้อรถหาเงินมาผ่อนชำระค่างวดไม่ทันตามสัญญาเดิม ไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านกฎหมายตามมาจากการผิดสัญญา ทั้งยังไม่ทำให้มีประวัติค้างชำระกับเครดิตบูโร และทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินไม่ได้อีกในอนาคต ส่วนข้อเสียก็คือ สถาบันการเงินจะรวมยอดหนี้คงค้างของลูกค้ามาคิดรวบยอดทั้งหมด ซึ่งเป็นยอดหนี้ที่รวมทั้งค่าปรับ ค่าเสียเวลาติดตาม และดอกเบี้ยคงค้างต่างๆ ซึ่งเป็นยอดหนี้ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม

สิ่งสำคัญที่ผู้เช่าซื้อต้องคำนึงและใช้พิจารณาในการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ มีอยู่ด้วยกัน 2 ปัจจัย ได้แก่

1.) ยอดผ่อนชำระต่อเดือน

คำนวณให้ดีว่า จำนวนเงินรายรับต่อเดือนของตัวเองที่สามารถใช้ผ่อนชำระค่างวดรถได้นั้นไหวที่จำนวนเท่าไหร่ เพื่อมองหาเงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ ที่ช่วยลดจำนวนค่าผ่อนต่องวดลงให้เท่ากับจำนวนเงินที่เราสามารถผ่อนได้

2.) ระยะเวลาผ่อนชำระ

อีกอย่างก็คือระยะเวลาในการผ่อนชำระภายใต้เงื่อนไขใหม่ต้องสอดคล้องกับค่าผ่อนในแต่ละเดือน ทั้งนี้ ถ้าหากเปลี่ยนสัญญาสินเชื่อพร้อมกับเงื่อนไขแล้ว ผู้เช่าซื้อยังไม่สามารถผ่อนชำระได้ตามสัญญาใหม่ ก็จะทำให้เกิดปัญหาและค่าใช้จ่ายมากมายตามมาเช่นเดิม

เงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้เป็นอย่างไร

การปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์จะมีเงื่อนไขแตกต่างออกไปตามแต่ละสถาบันการเงินจะกำหนดขึ้น แต่โดยพื้นฐานแล้ว เงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้มีดังนี้

  1. ต้องเป็นรถยนต์ที่มีการจดทะเบียนและต่อภาษีประจำปีมาจนถึงปัจจุบัน
  2. ต้องเป็นรถยนต์ที่ลูกค้าผ่อนชำระค่างวดมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน หรือ 12 งวด
  3. ระยะเวลาขั้นต่ำของการยืดค่างวดที่สามารถทำได้ คือ 48 งวด ซึ่งเมื่อเอาไปรวมกับสัญญาเดิมจะได้สูงสุดไม่เกิน 96 งวด
  4. อัตราดอกเบี้ยใหม่จะคำนวณตามช่วงเวลาที่ต้องการยืดการชำระออกไป ซึ่งแต่ละสถาบันการเงินจะคำนวณไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถาบันการเงินนั้นๆ
  5. ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระค่าคงค้าต่างๆ ให้เรียบร้อยก่อน ถึงจะเปลี่ยนสัญญาปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ได้
  6. การปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ต้องมีผู้ค้ำประกันทุกกรณี
  7. ต้องเป็นรถยนต์ ที่มีสัญญากรมธรรม์ประกันภัยชั้น 1 ที่มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  8. ต้องนำรถมาถ่ายรูปตัวรถ หมายเลขเครื่องยนต์และหมายเลขตัวถังรถ

วิธีการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์มีกี่แบบ เหมาะกับใครบ้าง

ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ คืออะไร ดีไหม เหมาะกับใครบ้าง

วิธีปรับโครงสร้างสร้างหนี้รถยนต์ มีด้วยกัน 2 วิธี คือ ขอเปลี่ยนเป็นการผ่อนแบบขั้นบันได กับวิธียืดขยายเวลาชำระหนี้ออกไปให้นานขึ้น ซึ่งแต่ละวิธีมีรายละเอียดแตกต่างกันดังนี้

1.) เปลี่ยนเป็นการผ่อนแบบขั้นบันได

การผ่อนแบบขั้นบันได คือการเลือกผ่อนค่างวดในช่วงระยะเวลาที่ผู้เช่าซื้อรถยังมีปัญหาในการผ่อนชำระในจำนวนน้อยๆ จนเมื่อสถานการณ์ของผู้เช่าซื้อดีขึ้นก่อน ถึงจะเพิ่มจำนวนผ่อนค่างวดให้มากขึ้นเรื่อยๆ ในรูปแบบขั้นบันได ซึ่งทำให้หลังผ่านช่วงผ่อนน้อยๆ แบบโปรโมชั่นไปแล้ว ผู้เช่าซื้ออาจต้องมีภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากจะใช้วิธีนี้ ต้องวางแผนการเงินให้ดีๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาภายหลัง

2.) ขยายเวลาชำระหนี้

วิธีนี้จะทำให้จำนวนงวดของการผ่อนรถเพิ่มขึ้นจากเดิม แต่จะทำให้ผู้เช่าซื้อแบกรับภาระค่างวดแต่ละรอบเดือนลดน้อยลงกว่าสัญญาเก่า แต่จะมีเงื่อนไขสำคัญว่า หากเลือกวิธีนี้ จะมีเงื่อนไขที่ไม่สามารถขยายระยะเวลาผ่อนได้เกินกว่า 96 งวดรวมกับค่างวดเดิมด้วย ดังนั้นผู้เช่าซื้อควรคำนวณค่างวดใหม่กับระยะเวลาผ่อนที่ยาวขึ้น ว่าหากได้ผ่อนค่างวดแต่ละเดือนลดลง จะได้คุ้มแค่ไหมกับระยะเวลาผ่อนที่เพิ่มมากขึ้น

ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์เหมาะกับใคร

เชื่อว่าสถานการณ์การเงินของแต่ละคนนั้นย่อมแตกต่างกันออกไป ดังนั้นวิธีการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ทั้ง 2 วิธีข้างต้น ก็จะเหมาะกันสถานการณ์ของบุคคลที่แตกต่างกันด้วย

1.) เปลี่ยนเป็นการผ่อนแบบขั้นบันได

เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาการเงินแบบฉุกเฉิน สุดวิสัย เป็นปัญหาการเงินที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว และสามารถแก้ปัญหาได้ในระยะเวลาไม่นานนัก สถานการณ์ก็จะกลับมาเป็นปกติ ทั้งนี้ในช่วงที่เกิดปัญหา ทำให้ผู้เช่าซื้อต้องการปรับค่างวดผ่อนรถต่อเดือนให้เหลือน้อยให้ได้มากที่สุดในทันที แต่ก็ต้องเป็นผู้ที่สามารถรับมือกับค่างวดในเดือนหลังๆ ที่เพิ่มขึ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ ได้เช่นกัน

2.) ขยายเวลาชำระหนี้

เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาการเงินไม่มาก และยังมีความสามารถพอที่จะผ่อนรถต่อไปได้ แต่ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้น้อยลง มีรายได้เข้ามาสมำ่เสมอต่อเนื่องในอนาคต ทำให้สามารถรับมือกับจำนวนงวดที่ต้องผ่อนชำระเพิ่มขึ้นมาได้ในอนาคตโดยไม่ติดขัด หรือรายได้สะดุดอีก

อย่างไรก็ตาม หากใครเริ่มเกิดปัญหาการเงิน จนไม่สามารถผ่อนรถไหวได้เหมือนเดิม ทางออกที่ดีที่สุดนอกจากการ ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ ก็คือการติดต่อเพื่อปรึกษาหาทางออก และวิธีแก้ไขปัญหากับสถาบันการเงินเจ้าของสินเชื่อรถยนต์อย่างเร่งด่วน เพื่อให้สามารถรักษาเครดิตไว้ได้ในอนาคต

ขายรถ ขายรถมือสอง CARS24

สำหรับใครที่อยากซื้อ-ขาย-เทิร์น จบในที่เดียว CARS24 มีรถมือสองให้เลือกกว่า 1,000 คัน พร้อมให้บริการจัดไฟแนนซ์รถมือสอง จะเลือกซื้อหรือขายรถผ่านเว็บไซต์ หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นได้ที่ App Store และ Google Play สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร.02 028 7428 ติดต่อได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00-18.00 น.

อ่านเพิ่มเติม