ความรับผิดของผู้ค้ำประกันรถยนต์ตามกฎหมายใหม่ และทางออกเมื่ออาจต้องใช้หนี้แทน

ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันรถยนต์ ตามกฎหมายใหม่ และทางออกเมื่ออาจจะต้องใช้หนี้รถยนต์แทน รวมถึงข้อควรรู้ก่อนค้ำประกันรถยนต์ไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากลูกหนี้ อ่านเลย

CARS24
CARS24
| อ่าน 1 นาที

ปัญหาของการค้ำประกัน ส่วนใหญ่มักจะไปเกิดกับฝ่ายผู้ค้ำประกันมากกว่าลูกหนี้ เพราะหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เบี้ยวไม่จ่ายค่างวด ภาระหนี้สินนั้นก็จะตกไปเป็นของผู้ค้ำประกัน ที่จะต้องรับผิดชอบหนี้จำนวนนั้นแทน ซึ่งเป็นปัญหาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาทุกยุคทุกสมัย แถมยังเข้ากับภาษิตไทยที่ว่า ‘เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง เอากระดูกมาแขวนคอ’ การค้ำประกันในอดีต อาจทำให้ใครต่อใครต้องสิ้นเนื้อประดาตัว หรือมีคดีถูกเจ้าหนี้ฟ้อง ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล ถูกยึดทรัพย์สินแทนลูกหนี้ เพราะเมื่อลูกหนี้หนีหายไป เจ้าหนี้ก็จะไปตามตัวผู้ค้ำประกันมาให้จ่ายหนี้แทน อีกทั้งในกรณีสัญญาที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วม ก็จะส่งผลให้เจ้าหนี้จะเรียกเงินจากฝ่ายไหนก่อนก็ได้

อาจกล่าวได้ว่าทำให้หลายๆ คนเข็ดขยาดกับการเป็นผู้ค้ำประกัน จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ได้มีกฎหมายใหม่ออกมาเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ค้ำประกัน ให้ได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น โดย ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน กฎหมายใหม่ นี้จะเป็นไปตามกฎหมายค้ำประกันที่แก้ไขใหม่ ฉบับที่ 20 นั้นมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา เพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของผู้ค้ำประกันนั่นเอง

ผู้ค้ำประกันคือใคร ทำไมต้องค้ำประกันรถยนต์?

ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน กฎหมายใหม่ ทางออกเมื่อต้องใช้หนี้

ตามข้อกฎหมายแล้ว ผู้ค้ำประกัน คือ บุคคลหนึ่งทำสัญญากับเจ้าหนี้ว่า จะชำระหนี้แทนลูกหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ซึ่งถึงแม้การค้ำประกันรถยนต์จะเป็นการค้ำประกันเช่นเดียวกัน แต่ก็เป็นการค้ำประกันที่มีรายละเอียดเฉพาะตัว โดยการค้ำประกันรถยนต์นั้น จะเกิดขึ้นเมื่อมีการทำสัญญาการกู้เงินระหว่างผู้เช่าซื้อรถกับสถาบันการเงินหรือไฟแนนซ์ โดยผู้เช่าซื้อที่เอารถไปขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน จะเรียกว่าลูกหนี้ ขณะที่ผู้ให้สินเชื่อจะเรียกว่า เจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์ ทั้งนี้สถาบันการเงินบางเจ้า อาจมีเงื่อนไขว่าผู้เช่าซื้อจะต้องมี คนค้ำประกัน เพื่อเป็นหลักประกันว่า จะมีผู้รับผิดชอบหนี้แทนถ้าหากว่าลูกหนี้ผิดสัญญา ไม่จ่ายหนี้ตามระยะเวลาที่กำหนด คนนค้ำประกันจึงกลายเป็น ลูกหนี้ชั้นที่สอง แต่อาจไม่จำเป็นต้องแบกรับภาระหนี้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับรายละเอียดข้อตกลงในสัญญาเงินกู้ที่ทำร่วมกับไฟแนนซ์

ความรับผิดของผู้ค้ำประกันรถยนต์ตามกฎหมายใหม่

ในส่วนของสิทธิและความรับผิดของผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อรถ สำหรับผู้ค้ำประกันทั้งหลาย ควรรู้ไว้ว่า หากลูกหนี้หรือผู้เช่าซื้อรถ ผิดนัดชำระหนี้กับเจ้าหนี้ หรือสถาบันการเงินเจ้าของสัญญาเงินกู้

ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน กฎหมายใหม่ ทางออกเมื่อต้องใช้หนี้
ฝั่งเจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องบอกกล่าวภายใน 60 วัน มิเช่นนั้นผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นจากหนี้อุปกรณ์ เช่น ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน ค่าขาดประโยชน์ต่างๆ ที่เกิดหลังพ้นเวลาที่ให้บอกกล่าวข้างต้น

แต่ในส่วนหนี้ประธาน ที่เป็นหนี้หลักหรือหนี้ที่เกิดก่อนพ้นเวลาที่ว่า ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดอยู่ตามเดิม ตามบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 เพื่อให้ผู้ค้ำประกันรู้ตัว และอาจหาเงินไปจ่าย ทำให้ดอกเบี้ยและภาระต่างๆ ไม่เดินต่อจนพอกพูนหนี้ท่วม ทว่าในส่วนหนี้ที่ต้องส่งมอบรถคืน ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดอยู่เหมือนเดิม เพราะเมื่อเช่าซื้อรถ รถยนต์คันนั้นๆ ก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทไฟแนนซ์อยู่ จะต้องคืนรถ และถือเป็นหนี้ประธาน หรือหนี้หลัก ไม่ใช่หนี้อุปกรณ์เหมือนค่าขาดประโยชน์

สิทธิ์ของผู้ค้ำประกันรถยนต์ และทางออกเมื่อลูกหนี้หนีหนี้

แม้ว่าการเป็นผู้ค้ำประกันจะมีความเสี่ยงและเสียผลประโยชน์มากมายหากผู้เช่าซื้อรถ หรือลูกหนี้ไม่จ่ายค่างวดรถ แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อกฎหมายค้ำประกันฉบับใหม่ออกมาในปี 2558 ผู้ค้ำประกันก็ได้รับการคุ้มครองดังนี้

1.) บอกเรื่องผิดนัดชำระหนี้ล่วงหน้า 60 วัน

ผู้ค้ำประกันจะเริ่มรับผิดชอบมูลค่าหนี้ตามสัญญาต่อฝั่งเมื่อลูกหนี้ผิดนัดจ่ายค่างวดล่วงเลยระยะเวลาที่กำหนด หรือจนกว่าเจ้าหนี้จะเรียกเก็บจากลูกหนี้จนสุดความสามารถแล้ว แต่เจ้าหนี้จะไม่สามารถไปเรียกเก็บหนี้จากคนค้ำได้ในทันที ต้องทำหนังสือแจ้งล่วงหน้าให้กับผู้ค้ำประกันได้รู้ตัวก่อนเป็นเวลา 60 วัน

2.) การจำกัดวงเงินหนี้ที่ต้องชำระ

ผู้คำ้ประกันสามารถจำกัดวงเงินสูงสุดที่ต้องจ่าย และระยะเวลาในการค้ำประกันได้โดยตกลงกับฝั่งลูกหนี้ ว่าตนเองมีความสามารถในการชำระหนี้ หรือต้องการชำระให้สูงสุดเท่าไหร่ แล้วให้ทำหนังสือสัญญากับลูกหนี้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นการจำกัดวงเงินหนี้

3.) ผู้ค้ำประกันรถยนต์ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย

เช่นเดียวกับสินเชื่อชนิดอื่นๆ สินเชื่อรถยนต์ก็มีอัตราดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการติดตามทวงถามหนี้จากผู้เช่าซื้อ กรณีลูกหนี้ไม่ชำระเงินค่างวด จนทำให้ทางเจ้าหนี้มาเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกับผู้ค้ำประกัน ทางผู้ค้ำประกันสามารถจ่ายเพียงส่วนที่ตนต้องรับผิดชอบ ตามที่ทำสัญญาไว้ได้ หลังรับผิดชอบ ผู้ค้ำประกันก็สามารถฟ้องเอาส่วนที่จ่ายไปคืนจากฝั่งลูกหนี้ได้ พร้อมดอกเบี้ยหรือค่าเสียหายส่วนอื่น

4.) บ่ายเบี่ยงให้เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ก่อน

ในกรณีหนี้ไปถึงขั้นฟ้องร้อง แต่ลูกหนี้บ่ายเบี่ยงให้ไปทวงหนี้กับผู้ค้ำประกันแทน ทางผู้ค้ำประกันก็มีสิทธิ์ปฏิเสธ และบ่ายเบี่ยงให้เจ้าหนี้ฟ้องกับลูกหนี้ก่อนได้

5.) ผู้ค้ำประกันมีโอกาสหลุดพ้นจากการค้ำประกันได้

ผู้ค้ำประกันมีสิทธิ์ในการหลุดพ้นจากการค้ำประกันได้ 4 กรณี ได้แก่

  1. ลูกหนี้ชำหนี้จนครบ
  2. สัญญาการค้ำประกันหมดอายุความ
  3. กรณีที่ลูกหนี้ถึงกับหนีหนี้ และทางผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แทนลูกหนี้ แต่ทางฝั่งเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้ ก็จะถือว่าผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากการค้ำประกันในสัญญาเช่าซื้อรถยนต์
  4. ผู้ค้ำประกันเสียชีวิต

รู้ก่อนค้ำประกันรถยนต์ ทำยังไงให้ไม่โดนเอาเปรียบ

ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน กฎหมายใหม่ ทางออกเมื่อต้องใช้หนี้

การค้ำประกันรถให้ผู้อื่นถือเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยง ดังนั้นในการเซ็นสัญญาใดๆ ก็ตาม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสัญญาฉบับดังกล่าวควรอ่านสัญญาให้ดีก่อน โดยเฉพาะฝั่งที่เป็นผู้ค้ำประกัน หากจะต้องเซ็นคำ้ประกันใดๆ ในตัวเอกสารสัญญาของการกู้เงินจะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าหนี้จะเป็นคนกำหนดเงื่อนไขใดไว้ในสัญญา ตัวผู้ค้ำประกันหากต้องการค้ำประกันหนี้เพียงส่วนหนึ่งส่วนใดก็สามารถทำได้ เพียงแค่ระบุเงื่อนไขดังกล่าวลงในสัญญาสินเชื่อให้ชัดเจน

และถึงแม้จะมีการนิยาม ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน กฎหมายใหม่ ขึ้นมา แต่อีกเรื่องที่ผู้ค้ำประกันควรรู้ไว้ คือ

เงื่อนไขสัญญาที่ระบุความประสงค์ของผู้ค้ำประกันในการรับผิดชอบร่วมกับลูกหนี้ ในฐานะลูกหนี้ร่วมกัน ซึ่งหากมีเงื่อนไขนี้ระบุไว้ในสัญญาแล้ว และลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ ทางเจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องร้องทั้งลูกหนี้ ร่วมกับผู้ค้ำประกันได้เลย

ดังนั้น หากไม่มีควาประสงค์จะรับผิดชอบในฐานะลูกหนี้ร่วม ก็ต้องอ่านสัญญาให้ดี ว่าในเงื่อนไขระบุไว้ให้ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมหรือไม่นั่นเอง

ขายรถ ขายรถมือสอง CARS24

สำหรับใครที่อยากซื้อ-ขาย-เทิร์น จบในที่เดียว CARS24 มีรถมือสองให้เลือกกว่า 1,000 คัน พร้อมให้บริการจัดไฟแนนซ์รถมือสอง จะเลือกซื้อหรือขายรถผ่านเว็บไซต์ หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นได้ที่ App Store และ Google Play สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร.02 028 7428 ติดต่อได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00-18.00 น.

ปัญหาของการค้ำประกัน ส่วนใหญ่มักจะไปเกิดกับฝ่ายผู้ค้ำประกันมากกว่าลูกหนี้ เพราะหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เบี้ยวไม่จ่ายค่างวด ภาระหนี้สินนั้นก็จะตกไปเป็นของผู้ค้ำประกัน ที่จะต้องรับผิดชอบหนี้จำนวนนั้นแทน ซึ่งเป็นปัญหาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาทุกยุคทุกสมัย แถมยังเข้ากับภาษิตไทยที่ว่า ‘เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง เอากระดูกมาแขวนคอ’ การค้ำประกันในอดีต อาจทำให้ใครต่อใครต้องสิ้นเนื้อประดาตัว หรือมีคดีถูกเจ้าหนี้ฟ้อง ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล ถูกยึดทรัพย์สินแทนลูกหนี้ เพราะเมื่อลูกหนี้หนีหายไป เจ้าหนี้ก็จะไปตามตัวผู้ค้ำประกันมาให้จ่ายหนี้แทน อีกทั้งในกรณีสัญญาที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วม ก็จะส่งผลให้เจ้าหนี้จะเรียกเงินจากฝ่ายไหนก่อนก็ได้

อาจกล่าวได้ว่าทำให้หลายๆ คนเข็ดขยาดกับการเป็นผู้ค้ำประกัน จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ได้มีกฎหมายใหม่ออกมาเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ค้ำประกัน ให้ได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น โดย ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน กฎหมายใหม่ นี้จะเป็นไปตามกฎหมายค้ำประกันที่แก้ไขใหม่ ฉบับที่ 20 นั้นมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา เพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของผู้ค้ำประกันนั่นเอง

ผู้ค้ำประกันคือใคร ทำไมต้องค้ำประกันรถยนต์?

ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน กฎหมายใหม่ ทางออกเมื่อต้องใช้หนี้

ตามข้อกฎหมายแล้ว ผู้ค้ำประกัน คือ บุคคลหนึ่งทำสัญญากับเจ้าหนี้ว่า จะชำระหนี้แทนลูกหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ซึ่งถึงแม้การค้ำประกันรถยนต์จะเป็นการค้ำประกันเช่นเดียวกัน แต่ก็เป็นการค้ำประกันที่มีรายละเอียดเฉพาะตัว โดยการค้ำประกันรถยนต์นั้น จะเกิดขึ้นเมื่อมีการทำสัญญาการกู้เงินระหว่างผู้เช่าซื้อรถกับสถาบันการเงินหรือไฟแนนซ์ โดยผู้เช่าซื้อที่เอารถไปขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน จะเรียกว่าลูกหนี้ ขณะที่ผู้ให้สินเชื่อจะเรียกว่า เจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์ ทั้งนี้สถาบันการเงินบางเจ้า อาจมีเงื่อนไขว่าผู้เช่าซื้อจะต้องมี คนค้ำประกัน เพื่อเป็นหลักประกันว่า จะมีผู้รับผิดชอบหนี้แทนถ้าหากว่าลูกหนี้ผิดสัญญา ไม่จ่ายหนี้ตามระยะเวลาที่กำหนด คนนค้ำประกันจึงกลายเป็น ลูกหนี้ชั้นที่สอง แต่อาจไม่จำเป็นต้องแบกรับภาระหนี้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับรายละเอียดข้อตกลงในสัญญาเงินกู้ที่ทำร่วมกับไฟแนนซ์

ความรับผิดของผู้ค้ำประกันรถยนต์ตามกฎหมายใหม่

ในส่วนของสิทธิและความรับผิดของผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อรถ สำหรับผู้ค้ำประกันทั้งหลาย ควรรู้ไว้ว่า หากลูกหนี้หรือผู้เช่าซื้อรถ ผิดนัดชำระหนี้กับเจ้าหนี้ หรือสถาบันการเงินเจ้าของสัญญาเงินกู้

ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน กฎหมายใหม่ ทางออกเมื่อต้องใช้หนี้
ฝั่งเจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องบอกกล่าวภายใน 60 วัน มิเช่นนั้นผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นจากหนี้อุปกรณ์ เช่น ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน ค่าขาดประโยชน์ต่างๆ ที่เกิดหลังพ้นเวลาที่ให้บอกกล่าวข้างต้น

แต่ในส่วนหนี้ประธาน ที่เป็นหนี้หลักหรือหนี้ที่เกิดก่อนพ้นเวลาที่ว่า ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดอยู่ตามเดิม ตามบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 เพื่อให้ผู้ค้ำประกันรู้ตัว และอาจหาเงินไปจ่าย ทำให้ดอกเบี้ยและภาระต่างๆ ไม่เดินต่อจนพอกพูนหนี้ท่วม ทว่าในส่วนหนี้ที่ต้องส่งมอบรถคืน ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดอยู่เหมือนเดิม เพราะเมื่อเช่าซื้อรถ รถยนต์คันนั้นๆ ก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทไฟแนนซ์อยู่ จะต้องคืนรถ และถือเป็นหนี้ประธาน หรือหนี้หลัก ไม่ใช่หนี้อุปกรณ์เหมือนค่าขาดประโยชน์

สิทธิ์ของผู้ค้ำประกันรถยนต์ และทางออกเมื่อลูกหนี้หนีหนี้

แม้ว่าการเป็นผู้ค้ำประกันจะมีความเสี่ยงและเสียผลประโยชน์มากมายหากผู้เช่าซื้อรถ หรือลูกหนี้ไม่จ่ายค่างวดรถ แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อกฎหมายค้ำประกันฉบับใหม่ออกมาในปี 2558 ผู้ค้ำประกันก็ได้รับการคุ้มครองดังนี้

1.) บอกเรื่องผิดนัดชำระหนี้ล่วงหน้า 60 วัน

ผู้ค้ำประกันจะเริ่มรับผิดชอบมูลค่าหนี้ตามสัญญาต่อฝั่งเมื่อลูกหนี้ผิดนัดจ่ายค่างวดล่วงเลยระยะเวลาที่กำหนด หรือจนกว่าเจ้าหนี้จะเรียกเก็บจากลูกหนี้จนสุดความสามารถแล้ว แต่เจ้าหนี้จะไม่สามารถไปเรียกเก็บหนี้จากคนค้ำได้ในทันที ต้องทำหนังสือแจ้งล่วงหน้าให้กับผู้ค้ำประกันได้รู้ตัวก่อนเป็นเวลา 60 วัน

2.) การจำกัดวงเงินหนี้ที่ต้องชำระ

ผู้คำ้ประกันสามารถจำกัดวงเงินสูงสุดที่ต้องจ่าย และระยะเวลาในการค้ำประกันได้โดยตกลงกับฝั่งลูกหนี้ ว่าตนเองมีความสามารถในการชำระหนี้ หรือต้องการชำระให้สูงสุดเท่าไหร่ แล้วให้ทำหนังสือสัญญากับลูกหนี้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นการจำกัดวงเงินหนี้

3.) ผู้ค้ำประกันรถยนต์ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย

เช่นเดียวกับสินเชื่อชนิดอื่นๆ สินเชื่อรถยนต์ก็มีอัตราดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการติดตามทวงถามหนี้จากผู้เช่าซื้อ กรณีลูกหนี้ไม่ชำระเงินค่างวด จนทำให้ทางเจ้าหนี้มาเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกับผู้ค้ำประกัน ทางผู้ค้ำประกันสามารถจ่ายเพียงส่วนที่ตนต้องรับผิดชอบ ตามที่ทำสัญญาไว้ได้ หลังรับผิดชอบ ผู้ค้ำประกันก็สามารถฟ้องเอาส่วนที่จ่ายไปคืนจากฝั่งลูกหนี้ได้ พร้อมดอกเบี้ยหรือค่าเสียหายส่วนอื่น

4.) บ่ายเบี่ยงให้เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ก่อน

ในกรณีหนี้ไปถึงขั้นฟ้องร้อง แต่ลูกหนี้บ่ายเบี่ยงให้ไปทวงหนี้กับผู้ค้ำประกันแทน ทางผู้ค้ำประกันก็มีสิทธิ์ปฏิเสธ และบ่ายเบี่ยงให้เจ้าหนี้ฟ้องกับลูกหนี้ก่อนได้

5.) ผู้ค้ำประกันมีโอกาสหลุดพ้นจากการค้ำประกันได้

ผู้ค้ำประกันมีสิทธิ์ในการหลุดพ้นจากการค้ำประกันได้ 4 กรณี ได้แก่

  1. ลูกหนี้ชำหนี้จนครบ
  2. สัญญาการค้ำประกันหมดอายุความ
  3. กรณีที่ลูกหนี้ถึงกับหนีหนี้ และทางผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แทนลูกหนี้ แต่ทางฝั่งเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้ ก็จะถือว่าผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากการค้ำประกันในสัญญาเช่าซื้อรถยนต์
  4. ผู้ค้ำประกันเสียชีวิต

รู้ก่อนค้ำประกันรถยนต์ ทำยังไงให้ไม่โดนเอาเปรียบ

ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน กฎหมายใหม่ ทางออกเมื่อต้องใช้หนี้

การค้ำประกันรถให้ผู้อื่นถือเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยง ดังนั้นในการเซ็นสัญญาใดๆ ก็ตาม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสัญญาฉบับดังกล่าวควรอ่านสัญญาให้ดีก่อน โดยเฉพาะฝั่งที่เป็นผู้ค้ำประกัน หากจะต้องเซ็นคำ้ประกันใดๆ ในตัวเอกสารสัญญาของการกู้เงินจะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าหนี้จะเป็นคนกำหนดเงื่อนไขใดไว้ในสัญญา ตัวผู้ค้ำประกันหากต้องการค้ำประกันหนี้เพียงส่วนหนึ่งส่วนใดก็สามารถทำได้ เพียงแค่ระบุเงื่อนไขดังกล่าวลงในสัญญาสินเชื่อให้ชัดเจน

และถึงแม้จะมีการนิยาม ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน กฎหมายใหม่ ขึ้นมา แต่อีกเรื่องที่ผู้ค้ำประกันควรรู้ไว้ คือ

เงื่อนไขสัญญาที่ระบุความประสงค์ของผู้ค้ำประกันในการรับผิดชอบร่วมกับลูกหนี้ ในฐานะลูกหนี้ร่วมกัน ซึ่งหากมีเงื่อนไขนี้ระบุไว้ในสัญญาแล้ว และลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ ทางเจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องร้องทั้งลูกหนี้ ร่วมกับผู้ค้ำประกันได้เลย

ดังนั้น หากไม่มีควาประสงค์จะรับผิดชอบในฐานะลูกหนี้ร่วม ก็ต้องอ่านสัญญาให้ดี ว่าในเงื่อนไขระบุไว้ให้ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมหรือไม่นั่นเอง

ขายรถ ขายรถมือสอง CARS24

สำหรับใครที่อยากซื้อ-ขาย-เทิร์น จบในที่เดียว CARS24 มีรถมือสองให้เลือกกว่า 1,000 คัน พร้อมให้บริการจัดไฟแนนซ์รถมือสอง จะเลือกซื้อหรือขายรถผ่านเว็บไซต์ หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นได้ที่ App Store และ Google Play สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร.02 028 7428 ติดต่อได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00-18.00 น.

อ่านเพิ่มเติม