ตรวจสภาพรถ ตรอ. ก่อนต่อภาษี คืออะไร รถแบบไหนต้องตรวจบ้าง

รถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่จำเป็นต้องตรวจสภาพรถต้องมีอายุเท่าไหร่? ทำไมต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีรถ CARS24 รวมทุกเรื่องควรรู้เกี่ยวกับการตรวจสภาพรถมาฝาก

CARS24
CARS24
| อ่าน 1 นาที

เคยสังเกตไหมว่า ตามปริมณฑลและต่างจังหวัดมักจะมีสถานที่ ตรวจสภาพรถ หรือ ศูนย์ตรวจสภาพรถ ที่มีสัญลักษณ์ของ ตรอ. ติดให้เห็นอย่างเด่นชัด ว่าแต่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่จำเป็นต้องตรวจสภาพรถต้องมีอายุเท่าไหร่? แล้วทำไมต้องตรวจสภาพรถก่อนถึงจะ ต่อภาษีรถ ได้ CARS24 รวมทุกเรื่องควรรู้เกี่ยวกับ ตรอ. และ ตรวจสภาพรถ มาฝาก

ตรวจสภาพรถ ตรอ. คืออะไร?

ตรอ. ย่อมาจากคำว่า “สถานตรวจสภาพรถเอกชน” ซึ่งเป็นสถานที่ที่เปิดให้ผู้ใช้ยานพาหนะ นำรถไป ตรวจสภาพรถ ก่อนถึงจะต่อภาษีรถได้ (กรณีที่ไม่สะดวกนำรถเข้าไปตรวจสภาพที่กรมขนส่งทางบก) โดยสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่งต้องมีสัญลักษณ์ ตรอ.

Note: การตรวจ ตรอ. เป็นการตรวจเพื่อรับรองว่า ยานพาหนะที่ใช้มีความปลอดภัย และมีสภาพพร้อมสำหรับการใช้งาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
รถแบบไหนที่ต้องตรวจสภาพรถ ตรอ.

รถแบบไหนที่ต้องตรวจสภาพรถ ตรอ.

พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติไว้ว่ารถสำหรับการใช้ขนส่งจะต้องมีสภาพที่มั่นคงแข็งแรง และลักษณะต่างๆ ของรถยนต์จะต้องถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ดังนั้นจึงมีกฎขึ้นมาว่ารถที่มีอายุการใช้งานค่อนข้างเยอะจำเป็นต้องนำรถไปตรวจสภาพรถ ตรอ.ทุกปี และสำหรับรถ ทรงตรอ. หรือรถที่เข้าเกณฑ์การตรวจสภาพรถ ตรอ. ก็มีรายการดังนี้

รถยนต์ที่มีอายุครบกี่ปีต้องนำไปตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
  • รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปี ขึ้นไป
Note: วิธีการนับอายุยานพาหนะที่เข้าเกณฑ์การตรวจ ตรอ. สามารถนับจากวันจดทะเบียนครั้งแรกถึงวันสิ้นสุดภาษีประจำปี (หรือก็คือวันครบกำหนดเสียภาษีประจำปี)
รถยนต์ที่ตรวจสภาพรถ ตรอ. ไม่ได้

รถยนต์ที่ตรวจสภาพรถ ตรอ. ไม่ได้

รถบางประเภทมีข้อจำกัดและเงื่อนไขที่ทำให้ตรวจ ตรอ. ไม่ได้ จำเป็นต้องนำรถไปตรวจสภาพที่หน่วยงานของกรมขนส่งทางบกเท่านั้น โดยยานพาหนะที่มีข้อยกเว้น ได้แก่

  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม สามารถตรวจสภาพรถได้ที่ ตรอ. หรือ หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก
  • รถของส่วนราชการ บุคคลในคณะผู้แทนทางการฑูต คณะผู้แทนทางกงสุล องค์การระหว่างประเทศ ฯลฯ สามารถตรวจสภาพรถได้ที่ ตรอ. หรือ หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก
  • รถที่มีการดัดแปลงสภาพ รถที่เปลี่ยนสี เปลี่ยนเครื่องยนต์ รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถ หรือเลขเครื่องยนต์ รถที่ขาดต่ออายุทะเบียนเกิน 1 ปี ฯลฯ สามารถตรวจสภาพรถได้ที่กรมการขนส่งทางบก
ทำไมต้องตรวจสภาพรถ ตรอ.?

ทำไมต้องตรวจสภาพรถ ตรอ.?

เพื่อยืนยันต่อกรมการขนส่งทางบกว่า รถของคุณอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ตามระเบียบข้อบังคับของกรมการขนส่ง ช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน โดยเจ้าของรถต้องนำใบผ่านการตรวจสภาพรถ มาใช้เป็นหลักฐานในการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีอีกด้วย

Note: รถที่จำเป็นต้องตรวจสภาพก่อนต่อภาษี ต้องมีอายุการใช้งาน 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่ใช้งานมา 5 ปี

สำหรับวิธีการนับอายุรถ ให้นับตั้งเเต่วันที่รถได้รับการจดทะเบียนรถครั้งแรก โดยเจ้าของรถสามารถนำรถเข้ารับการตรวจสภาพ ตรอ. ได้ล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือนก่อนถึงวันครบกำหนดวันเสียภาษีประจำปี อย่างเช่น ในกรณีที่รถยนต์ส่วนบุคคลจดทะเบียนในปี 2557 และภาษีรถยนต์หมดอายุในวันที่ 1 มิถุนายน 2557 รถยนต์คันดังกล่าวจะสามารถเข้ารับการตรวจสภาพรถ ตรอ. ล่วงหน้าได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2557 ไปนั่นเอง

ตรวจสภาพรถ ตรอ. ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

การตรวจสภาพรถใช้เพียง สมุดทะเบียนรถ พร้อมนำเอกสารการตรวจสภาพรถไปชำระค่าตรวจสภาพรถยนต์ (ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของรถแต่ละคัน)

ตรวจสภาพรถ ตรอ. ราคาเท่าไหร่

ค่าตรวจสภาพรถยนต์เอกชน (ตรอ.) หรือกรมขนส่งทางบก จะคิดจากน้ำหนักของรถ ซึ่งจะมีการคิดค่าตรวจสภาพรถดังนี้

  • รถยนต์น้ำหนักไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 150บาท
  • รถยนต์น้ำหนักเกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 250 บาท
  • รถจักรยานยนต์ คันละ 60 บาท
ตรวจสภาพรถ ตรอ. ตรวจอะไรบ้าง

ตรวจสภาพรถ ตรอ. ตรวจอะไรบ้าง

ขั้นตอนการ ตรวจสภาพรถ จะเริ่มจากตรวจเช็กความถูกต้องของข้อมูล เอกสาร และข้อมูลที่ระบุไว้ในสมุดทะเบียนรถ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสภาพรถทั้งภายนอกและภายใน ดังนี้

1. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

เจ้าหน้าที่ของ ตรอ. จะทำการตรวจเช็กสมุดทะเบียนรถ ว่าตรงกันกับรถที่นำมาตรวจหรือไม?่ เช่น รถยี่ห้ออะไร รุ่นไหน สีอะไร ป้ายทะเบียน เลขตัวถังเครื่องยนต์ ชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น หากมีการดัดแปลง แก้ไข เพิ่มเติมอุปกรณ์ส่วนควบต่าง ๆ เจ้าของรถจะต้องมีหนังสือรับรองการประกอบ หรือหากพบป้ายทะเบียนเสียหาย เลขเครื่องยนต์ เลขตัวถังรถ เลขคัสซี มีความผิดปกติ ไม่ครบถ้วนถูกต้อง อาจไม่ผ่านการตรวจสภาพรถได้เช่นกัน

2.  การตรวจภายนอกตัวรถ

ตรวจความปลอดภัยภายนอก เช่น ตรวจล้อ ยางรถยนต์ กันชน ประตู รวมทั้งการตรวจเช็กใต้ท้องรถ ตรวจเช็กระบบต่าง ๆ โช้ค แหนบ เพลา โครงสร้างตัวถัง ฯลฯ ว่ายังอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานปกติ

3. การตรวจภายในตัวรถ

ตรวจความปลอดภัยภายใน ขั้นตอนต่อไปเจ้าหน้าที่จะตรวจเช็กภายในตัวรถ เช่น หน้าปัด พวงมาลัย กระจกมองหน้าหลัง เข็มขัดนิรภัยสวิตช์ควบคุมไฟสัญญาณ แตรสัญญาณฯลฯ ว่ายังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

ตรวจสภาพรถ ตรอ. มีขั้นตอนอย่างไร

4. การตรวจสอบเครื่องยนต์และระบบควบคุมต่างๆ

ตรวจเครื่องยนต์ ขั้นตอนนี้จะเป็นการตรวจเช็กระบบควบคุมรถ โดยจะตรวจทั้งศูนย์ล้อและทดสอบระบบเบรก แรงเบรก ทั้งเบรกมือ เบรกเท้า

5. การตรวจระบบไฟต่างๆ ของรถยนต์

ตรวจวัดระบบไฟ จะเป็นการวัดระยะแสงไฟรถ ตรวจวัดไฟสูง และไฟต่ำ

6. การตรวจวัดระดับค่าแก๊ซ และปริมาณควันดำ

ตรวจวัดค่าก๊าซ ด้วยการเช็กค่าคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรคาร์บอน ขณะเครื่องยนต์เดินเบา และตรวจวัดปริมาณควันดำ จากปลายท่อไอเสีย

7. การตรวจวัดระดับเสียงท่อไอเสีย

ตรวจวัดระดับเสียงจากท่อไอเสีย ที่ความเร็วของรอบเครื่องยนต์ประมาณ 3 ใน 4 โดยค่าระดับเสียงสูงสุด จะต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล เอ

8. รับใบรายงานผลการตรวจสภาพรถ

รับใบตรวจสภาพรถยนต์ เมื่อผ่านกระบวนการตรวจสภาพรถยนต์เสร็จแล้ว เจ้าของรถจะได้รับใบรายงานผล เพื่อนำไปเป็นหลักฐานการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี โดยจะมีอายุ 3 เดือนนับจากวันตรวจสภาพรถ

Note: หลังจากตรวจสภาพรถแล้ว คุณสามารถนำรถพร้อมหลักฐานการตรวจสภาพรถไป ต่อภาษีรถยนต์ ประจำปีได้ที่กรมการขนส่งทางบก หรือ ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก และสามารถต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้ด้วย

ที่มา: กรมขนส่งทางบก

ส่วนใครที่อยากซื้อ-ขาย-เทิร์น จบในที่เดียว CARS24 พร้อมให้บริการและมีรถมือสองให้เลือกกว่า 1,000 คัน จะเลือกผ่านเว็บไซต์ หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นได้ที่ App Store และ Google Play สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 02 028 7428 ติดต่อได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00-18.00 น.

เคยสังเกตไหมว่า ตามปริมณฑลและต่างจังหวัดมักจะมีสถานที่ ตรวจสภาพรถ หรือ ศูนย์ตรวจสภาพรถ ที่มีสัญลักษณ์ของ ตรอ. ติดให้เห็นอย่างเด่นชัด ว่าแต่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่จำเป็นต้องตรวจสภาพรถต้องมีอายุเท่าไหร่? แล้วทำไมต้องตรวจสภาพรถก่อนถึงจะ ต่อภาษีรถ ได้ CARS24 รวมทุกเรื่องควรรู้เกี่ยวกับ ตรอ. และ ตรวจสภาพรถ มาฝาก

ตรวจสภาพรถ ตรอ. คืออะไร?

ตรอ. ย่อมาจากคำว่า “สถานตรวจสภาพรถเอกชน” ซึ่งเป็นสถานที่ที่เปิดให้ผู้ใช้ยานพาหนะ นำรถไป ตรวจสภาพรถ ก่อนถึงจะต่อภาษีรถได้ (กรณีที่ไม่สะดวกนำรถเข้าไปตรวจสภาพที่กรมขนส่งทางบก) โดยสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่งต้องมีสัญลักษณ์ ตรอ.

Note: การตรวจ ตรอ. เป็นการตรวจเพื่อรับรองว่า ยานพาหนะที่ใช้มีความปลอดภัย และมีสภาพพร้อมสำหรับการใช้งาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
รถแบบไหนที่ต้องตรวจสภาพรถ ตรอ.

รถแบบไหนที่ต้องตรวจสภาพรถ ตรอ.

พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติไว้ว่ารถสำหรับการใช้ขนส่งจะต้องมีสภาพที่มั่นคงแข็งแรง และลักษณะต่างๆ ของรถยนต์จะต้องถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ดังนั้นจึงมีกฎขึ้นมาว่ารถที่มีอายุการใช้งานค่อนข้างเยอะจำเป็นต้องนำรถไปตรวจสภาพรถ ตรอ.ทุกปี และสำหรับรถ ทรงตรอ. หรือรถที่เข้าเกณฑ์การตรวจสภาพรถ ตรอ. ก็มีรายการดังนี้

รถยนต์ที่มีอายุครบกี่ปีต้องนำไปตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป
  • รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปี ขึ้นไป
Note: วิธีการนับอายุยานพาหนะที่เข้าเกณฑ์การตรวจ ตรอ. สามารถนับจากวันจดทะเบียนครั้งแรกถึงวันสิ้นสุดภาษีประจำปี (หรือก็คือวันครบกำหนดเสียภาษีประจำปี)
รถยนต์ที่ตรวจสภาพรถ ตรอ. ไม่ได้

รถยนต์ที่ตรวจสภาพรถ ตรอ. ไม่ได้

รถบางประเภทมีข้อจำกัดและเงื่อนไขที่ทำให้ตรวจ ตรอ. ไม่ได้ จำเป็นต้องนำรถไปตรวจสภาพที่หน่วยงานของกรมขนส่งทางบกเท่านั้น โดยยานพาหนะที่มีข้อยกเว้น ได้แก่

  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม สามารถตรวจสภาพรถได้ที่ ตรอ. หรือ หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก
  • รถของส่วนราชการ บุคคลในคณะผู้แทนทางการฑูต คณะผู้แทนทางกงสุล องค์การระหว่างประเทศ ฯลฯ สามารถตรวจสภาพรถได้ที่ ตรอ. หรือ หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก
  • รถที่มีการดัดแปลงสภาพ รถที่เปลี่ยนสี เปลี่ยนเครื่องยนต์ รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถ หรือเลขเครื่องยนต์ รถที่ขาดต่ออายุทะเบียนเกิน 1 ปี ฯลฯ สามารถตรวจสภาพรถได้ที่กรมการขนส่งทางบก
ทำไมต้องตรวจสภาพรถ ตรอ.?

ทำไมต้องตรวจสภาพรถ ตรอ.?

เพื่อยืนยันต่อกรมการขนส่งทางบกว่า รถของคุณอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ตามระเบียบข้อบังคับของกรมการขนส่ง ช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน โดยเจ้าของรถต้องนำใบผ่านการตรวจสภาพรถ มาใช้เป็นหลักฐานในการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีอีกด้วย

Note: รถที่จำเป็นต้องตรวจสภาพก่อนต่อภาษี ต้องมีอายุการใช้งาน 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่ใช้งานมา 5 ปี

สำหรับวิธีการนับอายุรถ ให้นับตั้งเเต่วันที่รถได้รับการจดทะเบียนรถครั้งแรก โดยเจ้าของรถสามารถนำรถเข้ารับการตรวจสภาพ ตรอ. ได้ล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือนก่อนถึงวันครบกำหนดวันเสียภาษีประจำปี อย่างเช่น ในกรณีที่รถยนต์ส่วนบุคคลจดทะเบียนในปี 2557 และภาษีรถยนต์หมดอายุในวันที่ 1 มิถุนายน 2557 รถยนต์คันดังกล่าวจะสามารถเข้ารับการตรวจสภาพรถ ตรอ. ล่วงหน้าได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2557 ไปนั่นเอง

ตรวจสภาพรถ ตรอ. ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

การตรวจสภาพรถใช้เพียง สมุดทะเบียนรถ พร้อมนำเอกสารการตรวจสภาพรถไปชำระค่าตรวจสภาพรถยนต์ (ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของรถแต่ละคัน)

ตรวจสภาพรถ ตรอ. ราคาเท่าไหร่

ค่าตรวจสภาพรถยนต์เอกชน (ตรอ.) หรือกรมขนส่งทางบก จะคิดจากน้ำหนักของรถ ซึ่งจะมีการคิดค่าตรวจสภาพรถดังนี้

  • รถยนต์น้ำหนักไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 150บาท
  • รถยนต์น้ำหนักเกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 250 บาท
  • รถจักรยานยนต์ คันละ 60 บาท
ตรวจสภาพรถ ตรอ. ตรวจอะไรบ้าง

ตรวจสภาพรถ ตรอ. ตรวจอะไรบ้าง

ขั้นตอนการ ตรวจสภาพรถ จะเริ่มจากตรวจเช็กความถูกต้องของข้อมูล เอกสาร และข้อมูลที่ระบุไว้ในสมุดทะเบียนรถ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสภาพรถทั้งภายนอกและภายใน ดังนี้

1. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

เจ้าหน้าที่ของ ตรอ. จะทำการตรวจเช็กสมุดทะเบียนรถ ว่าตรงกันกับรถที่นำมาตรวจหรือไม?่ เช่น รถยี่ห้ออะไร รุ่นไหน สีอะไร ป้ายทะเบียน เลขตัวถังเครื่องยนต์ ชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น หากมีการดัดแปลง แก้ไข เพิ่มเติมอุปกรณ์ส่วนควบต่าง ๆ เจ้าของรถจะต้องมีหนังสือรับรองการประกอบ หรือหากพบป้ายทะเบียนเสียหาย เลขเครื่องยนต์ เลขตัวถังรถ เลขคัสซี มีความผิดปกติ ไม่ครบถ้วนถูกต้อง อาจไม่ผ่านการตรวจสภาพรถได้เช่นกัน

2.  การตรวจภายนอกตัวรถ

ตรวจความปลอดภัยภายนอก เช่น ตรวจล้อ ยางรถยนต์ กันชน ประตู รวมทั้งการตรวจเช็กใต้ท้องรถ ตรวจเช็กระบบต่าง ๆ โช้ค แหนบ เพลา โครงสร้างตัวถัง ฯลฯ ว่ายังอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานปกติ

3. การตรวจภายในตัวรถ

ตรวจความปลอดภัยภายใน ขั้นตอนต่อไปเจ้าหน้าที่จะตรวจเช็กภายในตัวรถ เช่น หน้าปัด พวงมาลัย กระจกมองหน้าหลัง เข็มขัดนิรภัยสวิตช์ควบคุมไฟสัญญาณ แตรสัญญาณฯลฯ ว่ายังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

ตรวจสภาพรถ ตรอ. มีขั้นตอนอย่างไร

4. การตรวจสอบเครื่องยนต์และระบบควบคุมต่างๆ

ตรวจเครื่องยนต์ ขั้นตอนนี้จะเป็นการตรวจเช็กระบบควบคุมรถ โดยจะตรวจทั้งศูนย์ล้อและทดสอบระบบเบรก แรงเบรก ทั้งเบรกมือ เบรกเท้า

5. การตรวจระบบไฟต่างๆ ของรถยนต์

ตรวจวัดระบบไฟ จะเป็นการวัดระยะแสงไฟรถ ตรวจวัดไฟสูง และไฟต่ำ

6. การตรวจวัดระดับค่าแก๊ซ และปริมาณควันดำ

ตรวจวัดค่าก๊าซ ด้วยการเช็กค่าคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรคาร์บอน ขณะเครื่องยนต์เดินเบา และตรวจวัดปริมาณควันดำ จากปลายท่อไอเสีย

7. การตรวจวัดระดับเสียงท่อไอเสีย

ตรวจวัดระดับเสียงจากท่อไอเสีย ที่ความเร็วของรอบเครื่องยนต์ประมาณ 3 ใน 4 โดยค่าระดับเสียงสูงสุด จะต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล เอ

8. รับใบรายงานผลการตรวจสภาพรถ

รับใบตรวจสภาพรถยนต์ เมื่อผ่านกระบวนการตรวจสภาพรถยนต์เสร็จแล้ว เจ้าของรถจะได้รับใบรายงานผล เพื่อนำไปเป็นหลักฐานการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี โดยจะมีอายุ 3 เดือนนับจากวันตรวจสภาพรถ

Note: หลังจากตรวจสภาพรถแล้ว คุณสามารถนำรถพร้อมหลักฐานการตรวจสภาพรถไป ต่อภาษีรถยนต์ ประจำปีได้ที่กรมการขนส่งทางบก หรือ ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก และสามารถต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้ด้วย

ที่มา: กรมขนส่งทางบก

ส่วนใครที่อยากซื้อ-ขาย-เทิร์น จบในที่เดียว CARS24 พร้อมให้บริการและมีรถมือสองให้เลือกกว่า 1,000 คัน จะเลือกผ่านเว็บไซต์ หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นได้ที่ App Store และ Google Play สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 02 028 7428 ติดต่อได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00-18.00 น.

อ่านเพิ่มเติม