เช็กสัญญาณเตือน “น้ำมันเครื่องหมดอายุ” และเลือกน้ำมันเครื่องแบบไหนดีต่อรถคุณ

CARS24
CARS24
| อ่าน 1 นาที

หลายคนอาจจะรู้ว่า “น้ำมันเครื่อง” เป็นหัวใจสำคัญของเครื่องยนต์ ทำหน้าที่เคลือบชิ้นส่วนโลหะต่างๆ เพื่อลดการเสียดสีขณะเครื่องยนต์ทำงาน โดยน้ำมันเครื่องจะลดความร้อนสะสมที่พื้นผิวของวัตถุที่เสียดสีกันหลังจากการเผาไหม้ ลดการเกิดสิ่งสกปรกจากการเผาไหม้ ป้องกันการเกิดสนิม การกัดกร่อน และคราบเขม่าควัน รักษากำลังอัดของเครื่องยนต์ แล้วยังช่วยลดการสึกหรอของเครื่องยนต์อีกด้วย แต่จะรู้ได้อย่างไรว่า เมื่อไหร่ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องและควรเลือกน้ำมันเครื่องแบบไหนดี Cars24 รวมเกร็ดความรู้คู่มือดูแลรถยนต์มาฝาก

ประเภทของน้ำมันเครื่อง

ข้อดีของการเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมกับรถยนต์ จะช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยืดอายุการใช้งานในเวลาเดียวกัน แม้จะมีน้ำมันเครื่องให้เลือกหลายยี่ห้อในปัจจุบัน แตกต่างกันด้วยสัดส่วนของสารเพิ่มคุณภาพ (Additives) ขึ้นอยู่กับสูตรเฉพาะของแต่ละยี่ห้อ โดยน้ำมันเครื่องจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. น้ำมันเครื่องธรรมดา (Synthetic หรือ Mineral Oil)

น้ำมันที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ (ปิโตรเลียม) เป็นน้ำมันที่มาจากธรรมชาติ 100% น้ำมันเครื่องชนิดนี้มีราคาต่ำกว่าน้ำมันเครื่องประเภทอื่นๆ และมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 5,000-7,000 กิโลเมตร

2. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi-Synthetic)

น้ำมันเครื่องยอดนิยมที่เกิดจากส่วนผสมของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้กับน้ำมันเครื่องจากธรรมชาติ ในอัตราส่วนที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ผลิต น้ำมันเครื่องชนิดนี้มีคุณสมบัติดีกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา ราคาถูกกว่าน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ และอายุการใช้งานเฉลี่ย 7,000-10,000 กิโลเมตร

3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Fully Synthetic)

เป็นน้ำมันเครื่องที่มีคุณสมบัติทนต่อการการใช้งานที่ความร้อนสูงได้ดี ผ่านกระบวนการผลิตและกลั่นด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง มีความบริสุทธิ์สูง และอายุการใช้งานนานกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดาอย่างมาก แต่ราคาจะสูงกว่าเช่นกัน ด้วยน้ำมันเครื่องชนิดนี้มีคุณภาพสูงจึงช่วยปกป้องและหล่อลื่นเครื่องยนต์ได้อย่างดี  ส่งผลให้เครื่องยนต์ทำงานได้เต็มสมรรถนะ และมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 10,000-15,000 กิโลเมตร

** Note: น้ำมันเครื่องชนิดนี้ยังเหมาะกับรถที่ใช้งานน้อย จอดทิ้งไว้นาน และขับออกมาวอร์มเครื่องเป็นระยะๆ เพราะปัจจุบันได้รับการพัฒนาให้มีอายุการใช้งานนาน 9 เดือนถึง 1 ปี

เทคนิคการเลือกน้ำมันเครื่องที่เหมาะกับรถยนต์

การจะเลือกประเภทของน้ำมันเครื่องที่เหมาะกับรถของคุณ ขึ้นอยู่กับงบประมาณและสไตล์การขับขี่ของแต่ละคน แล้วยังพิจารณาเลือกน้ำมันเครื่องจากสารเพิ่มคุณภาพของแต่ละยี่ห้อที่ตอบโจทย์รถของคุณก็ได้เช่นกัน

นอกจากนี้ คุณยังพิจารณาจากขนาดของเครื่องยนต์และลักษณะการใช้งาน โดยปกติแล้วการเลือกน้ำมันเครื่องจะอ้างอิงจากคู่มือรถว่า ควรจะเลือกน้ำมันเครื่องแบบไหนดี รวมถึงพิจารณาจากความหนืดของน้ำมันเครื่อง ควรเลือกที่มีความหนืดต่ำที่สุดจะช่วยประหยัดน้ำมัน และอัตราเร่งเครื่องมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับรถที่ต้องการน้ำมันเครื่องประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยปกป้องเครื่องยนต์ได้อย่างดี และยืดอายุการใช้งานแนะนำให้ใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ซึ่งเป็นน้ำมันเครื่องที่มีคุณภาพสูงสุด

เช็กสัญญาณเตือน “น้ำมันเครื่องหมดอายุ”

ส่วนใหญ่แล้วน้ำมันเครื่องที่ยังไม่ได้เปิดใช้งานจะมีอายุเฉลี่ย 5 ปี ซึ่งต้องได้รับการเก็บรักษาในสภาวะที่เหมาะสม เพื่อคงรักษาคุณสมบัติของน้ำมันเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณไม่แน่ใจว่า น้ำมันเครื่องขวดนั้นยังใช้งานได้อยู่หรือไม่? เรามีวิธีสังเกตน้ำมันเครื่องหมดอายุด้วยตัวเอง

  • สังเกตวันหมดอายุข้างแกลลอน: น้ำมันเครื่องที่ยังไม่เปิดใช้งานจะมีอายุเฉลี่ย 5 ปี นับจากวันผลิต แต่หากน้ำมันเครื่องดังกล่าวเปิดใช้งานแล้วและยังใช้ไม่หมดจะมีอายุการใช้งานไม่เกิน 1 ปี
  • สีของน้ำมันเครื่อง: น้ำมันเครื่องที่ดีต้องมีสีอำพัน หากน้ำมันเครื่องเริ่มเปลี่ยนเป็นสีขุ่นเข้ม หรือข้นหนืดมากอาจเสี่ยงต่อน้ำมันเครื่องหมดอายุ
  • ลักษณะของน้ำมันเครื่อง: น้ำมันเครื่องที่ดีจะมีความโปร่งแสง ใส และมีความหนืดเล็กน้อย

อาการรถยนต์ถึงเวลาควร “เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง”

สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ ได้อธิบายถึงสัญญาณเตือนน้ำมันเครื่องหมดอายุ ที่คุณควรรู้ก่อนตัดสินใจเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง นั่นคือ

  • อัตราเร่งอืดและแย่ลง: ถ้าคุณเหยียบคันเร่งแล้วรู้สึกว่ารถอืดผิดปกติ แนะนำให้เช็คว่า น้ำมันเครื่องมีความข้นหนืดอย่างชัดเจนหรือไม่?
  • กินน้ำมันมากขึ้น: หากน้ำมันเครื่องมีความข้นหนืดมากขึ้น จะส่งผลให้ชิ้นส่วนต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้น และส่งผลให้เครื่องยนต์กินน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น ทั้งยังทำให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็วขึ้นด้วย
  • จอดรถทิ้งไว้เป็นเวลานาน: สำหรับรถที่จอดทิ้งไว้ หรือนานๆ จะนำไปขับสักที ภายในเครื่องยนต์จะมีคราบเขม่าและความชื้นจากการเผาไหม้ตกค้าง และความชื้นที่เกิดจากชิ้นส่วนต่างๆ จะส่งผลเสียต่อการทำงานของเครื่องยนต์ ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุก 6 เดือน (ขึ้นอยู่กับประเภทของนัำมันเครื่องที่เลือกใช้)
  • เสียงเครื่องยนต์ดังขึ้นผิดปกติ: ถ้าคุณได้ยินเสียงดังจากห้องเครื่องขณะขับรถ แนะนำให้จอดรถและเปิดฝากระโปรงเพื่อตรวจเช็คความผิดปกติ เพราะสาเหตุหนึ่งอาจมาจากน้ำมันเครื่องแห้งหรือเสื่อมสภาพ

** Note: หากสีของน้ำมันเครื่องที่เข้มและดำขึ้น อาจจะไม่เกี่ยวกับน้ำมันเครื่องหมดอายุเสมอไป เพราะด้วยเทคโนโลยีในการผลิตน้ำมันเครื่องที่ทันสมัยขึ้น ทำให้น้ำมันเครื่องมีคุณสมบัติในการชะล้างคราบเขม่า และทำความสะอาดภายในชิ้นส่วน น้ำมันเครื่องจึงมีสีเข้มและดำเร็วขึ้น แต่ไม่มีผลกระทบต่อการใช้งาน นอกจากสีแล้วจึงควรพิจารณาจากคราบเขม่าที่มากผิดปกติ และความหนืดที่ผิดปกติอีกด้วย

หากอยากยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ ประหยัดน้ำมัน และไม่ต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องบ่อยๆ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เลือกน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (ขึ้นอยู่กับงบฯ และการใช้งาน) แต่หากอยากได้รถมือสองที่ผ่านการตรวจเช็คสภาพกว่า 150 จุดโดยผู้เชี่ยวชาญตัวจริง เลือกรถมือสองคุณภาพดีได้ที่ Cars24

หลายคนอาจจะรู้ว่า “น้ำมันเครื่อง” เป็นหัวใจสำคัญของเครื่องยนต์ ทำหน้าที่เคลือบชิ้นส่วนโลหะต่างๆ เพื่อลดการเสียดสีขณะเครื่องยนต์ทำงาน โดยน้ำมันเครื่องจะลดความร้อนสะสมที่พื้นผิวของวัตถุที่เสียดสีกันหลังจากการเผาไหม้ ลดการเกิดสิ่งสกปรกจากการเผาไหม้ ป้องกันการเกิดสนิม การกัดกร่อน และคราบเขม่าควัน รักษากำลังอัดของเครื่องยนต์ แล้วยังช่วยลดการสึกหรอของเครื่องยนต์อีกด้วย แต่จะรู้ได้อย่างไรว่า เมื่อไหร่ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องและควรเลือกน้ำมันเครื่องแบบไหนดี Cars24 รวมเกร็ดความรู้คู่มือดูแลรถยนต์มาฝาก

ประเภทของน้ำมันเครื่อง

ข้อดีของการเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมกับรถยนต์ จะช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยืดอายุการใช้งานในเวลาเดียวกัน แม้จะมีน้ำมันเครื่องให้เลือกหลายยี่ห้อในปัจจุบัน แตกต่างกันด้วยสัดส่วนของสารเพิ่มคุณภาพ (Additives) ขึ้นอยู่กับสูตรเฉพาะของแต่ละยี่ห้อ โดยน้ำมันเครื่องจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. น้ำมันเครื่องธรรมดา (Synthetic หรือ Mineral Oil)

น้ำมันที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ (ปิโตรเลียม) เป็นน้ำมันที่มาจากธรรมชาติ 100% น้ำมันเครื่องชนิดนี้มีราคาต่ำกว่าน้ำมันเครื่องประเภทอื่นๆ และมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 5,000-7,000 กิโลเมตร

2. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi-Synthetic)

น้ำมันเครื่องยอดนิยมที่เกิดจากส่วนผสมของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้กับน้ำมันเครื่องจากธรรมชาติ ในอัตราส่วนที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ผลิต น้ำมันเครื่องชนิดนี้มีคุณสมบัติดีกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา ราคาถูกกว่าน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ และอายุการใช้งานเฉลี่ย 7,000-10,000 กิโลเมตร

3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Fully Synthetic)

เป็นน้ำมันเครื่องที่มีคุณสมบัติทนต่อการการใช้งานที่ความร้อนสูงได้ดี ผ่านกระบวนการผลิตและกลั่นด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง มีความบริสุทธิ์สูง และอายุการใช้งานนานกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดาอย่างมาก แต่ราคาจะสูงกว่าเช่นกัน ด้วยน้ำมันเครื่องชนิดนี้มีคุณภาพสูงจึงช่วยปกป้องและหล่อลื่นเครื่องยนต์ได้อย่างดี  ส่งผลให้เครื่องยนต์ทำงานได้เต็มสมรรถนะ และมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 10,000-15,000 กิโลเมตร

** Note: น้ำมันเครื่องชนิดนี้ยังเหมาะกับรถที่ใช้งานน้อย จอดทิ้งไว้นาน และขับออกมาวอร์มเครื่องเป็นระยะๆ เพราะปัจจุบันได้รับการพัฒนาให้มีอายุการใช้งานนาน 9 เดือนถึง 1 ปี

เทคนิคการเลือกน้ำมันเครื่องที่เหมาะกับรถยนต์

การจะเลือกประเภทของน้ำมันเครื่องที่เหมาะกับรถของคุณ ขึ้นอยู่กับงบประมาณและสไตล์การขับขี่ของแต่ละคน แล้วยังพิจารณาเลือกน้ำมันเครื่องจากสารเพิ่มคุณภาพของแต่ละยี่ห้อที่ตอบโจทย์รถของคุณก็ได้เช่นกัน

นอกจากนี้ คุณยังพิจารณาจากขนาดของเครื่องยนต์และลักษณะการใช้งาน โดยปกติแล้วการเลือกน้ำมันเครื่องจะอ้างอิงจากคู่มือรถว่า ควรจะเลือกน้ำมันเครื่องแบบไหนดี รวมถึงพิจารณาจากความหนืดของน้ำมันเครื่อง ควรเลือกที่มีความหนืดต่ำที่สุดจะช่วยประหยัดน้ำมัน และอัตราเร่งเครื่องมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับรถที่ต้องการน้ำมันเครื่องประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยปกป้องเครื่องยนต์ได้อย่างดี และยืดอายุการใช้งานแนะนำให้ใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ซึ่งเป็นน้ำมันเครื่องที่มีคุณภาพสูงสุด

เช็กสัญญาณเตือน “น้ำมันเครื่องหมดอายุ”

ส่วนใหญ่แล้วน้ำมันเครื่องที่ยังไม่ได้เปิดใช้งานจะมีอายุเฉลี่ย 5 ปี ซึ่งต้องได้รับการเก็บรักษาในสภาวะที่เหมาะสม เพื่อคงรักษาคุณสมบัติของน้ำมันเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณไม่แน่ใจว่า น้ำมันเครื่องขวดนั้นยังใช้งานได้อยู่หรือไม่? เรามีวิธีสังเกตน้ำมันเครื่องหมดอายุด้วยตัวเอง

  • สังเกตวันหมดอายุข้างแกลลอน: น้ำมันเครื่องที่ยังไม่เปิดใช้งานจะมีอายุเฉลี่ย 5 ปี นับจากวันผลิต แต่หากน้ำมันเครื่องดังกล่าวเปิดใช้งานแล้วและยังใช้ไม่หมดจะมีอายุการใช้งานไม่เกิน 1 ปี
  • สีของน้ำมันเครื่อง: น้ำมันเครื่องที่ดีต้องมีสีอำพัน หากน้ำมันเครื่องเริ่มเปลี่ยนเป็นสีขุ่นเข้ม หรือข้นหนืดมากอาจเสี่ยงต่อน้ำมันเครื่องหมดอายุ
  • ลักษณะของน้ำมันเครื่อง: น้ำมันเครื่องที่ดีจะมีความโปร่งแสง ใส และมีความหนืดเล็กน้อย

อาการรถยนต์ถึงเวลาควร “เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง”

สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ ได้อธิบายถึงสัญญาณเตือนน้ำมันเครื่องหมดอายุ ที่คุณควรรู้ก่อนตัดสินใจเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง นั่นคือ

  • อัตราเร่งอืดและแย่ลง: ถ้าคุณเหยียบคันเร่งแล้วรู้สึกว่ารถอืดผิดปกติ แนะนำให้เช็คว่า น้ำมันเครื่องมีความข้นหนืดอย่างชัดเจนหรือไม่?
  • กินน้ำมันมากขึ้น: หากน้ำมันเครื่องมีความข้นหนืดมากขึ้น จะส่งผลให้ชิ้นส่วนต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้น และส่งผลให้เครื่องยนต์กินน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น ทั้งยังทำให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็วขึ้นด้วย
  • จอดรถทิ้งไว้เป็นเวลานาน: สำหรับรถที่จอดทิ้งไว้ หรือนานๆ จะนำไปขับสักที ภายในเครื่องยนต์จะมีคราบเขม่าและความชื้นจากการเผาไหม้ตกค้าง และความชื้นที่เกิดจากชิ้นส่วนต่างๆ จะส่งผลเสียต่อการทำงานของเครื่องยนต์ ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุก 6 เดือน (ขึ้นอยู่กับประเภทของนัำมันเครื่องที่เลือกใช้)
  • เสียงเครื่องยนต์ดังขึ้นผิดปกติ: ถ้าคุณได้ยินเสียงดังจากห้องเครื่องขณะขับรถ แนะนำให้จอดรถและเปิดฝากระโปรงเพื่อตรวจเช็คความผิดปกติ เพราะสาเหตุหนึ่งอาจมาจากน้ำมันเครื่องแห้งหรือเสื่อมสภาพ

** Note: หากสีของน้ำมันเครื่องที่เข้มและดำขึ้น อาจจะไม่เกี่ยวกับน้ำมันเครื่องหมดอายุเสมอไป เพราะด้วยเทคโนโลยีในการผลิตน้ำมันเครื่องที่ทันสมัยขึ้น ทำให้น้ำมันเครื่องมีคุณสมบัติในการชะล้างคราบเขม่า และทำความสะอาดภายในชิ้นส่วน น้ำมันเครื่องจึงมีสีเข้มและดำเร็วขึ้น แต่ไม่มีผลกระทบต่อการใช้งาน นอกจากสีแล้วจึงควรพิจารณาจากคราบเขม่าที่มากผิดปกติ และความหนืดที่ผิดปกติอีกด้วย

หากอยากยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ ประหยัดน้ำมัน และไม่ต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องบ่อยๆ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เลือกน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (ขึ้นอยู่กับงบฯ และการใช้งาน) แต่หากอยากได้รถมือสองที่ผ่านการตรวจเช็คสภาพกว่า 150 จุดโดยผู้เชี่ยวชาญตัวจริง เลือกรถมือสองคุณภาพดีได้ที่ Cars24

อ่านเพิ่มเติม