เรื่องควรรู้ ก่อนขยับไซส์จาก “รถส่วนตัว” เป็น “รถครอบครัว”

CARS24
CARS24
| อ่าน 2 นาที


เมื่อคนเราเติบโตขึ้น ไลฟ์สไตล์ และการเลือกเป็นเจ้าของรถยนต์สักรุ่นย่อมเปลี่ยนแปลงไป จากที่เป็นคนโสดใช้ชีวิตวัยรุ่น วัยทำงานในสไตล์ของตัวเอง อาจจะรู้สึกว่าการขับรถซีดาน (รถเก๋ง 4 ประตู) หรือรถสปอร์ต เป็นอะไรที่ถูกจริตการใช้งานมากกว่ารถในกลุ่มครอบครัวที่มีขนาดใหญ่ ดูแก่ไม่สมวัย!

แต่เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น หรือแต่งงานมีครอบครัว การใช้ชีวิตเริ่มเปลี่ยนแปลงไป การเดินทางด้วยตัวคนเดียวหรือสองคน กลายเป็นต้องยกทัพกันไปทั้งบ้าน นั่นทำให้รถซีดานเริ่มไม่ตอบโจทย์การใช้งานกันแล้วล่ะ

ทีนี้ก่อนจะขยับไซส์รถให้ตอบโจทย์การใช้งานแบบครอบครัว มาทำความรู้จักกันก่อนว่า รถในแต่ละแบบมีอะไรบ้าง นอกเหนือจากรถเก๋งซีดาน แล้วรถในกลุ่มครอบครัวที่ว่านี้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบไหน Cars24 มีคำตอบ

รถ SUV (Sport Utility Vehicle)

เป็นรถอเนกประสงค์ มีพื้นที่ใช้สอยภายในห้องโดยสารมากกว่ารถซีดาน มีขนาดตัวถังที่ใหญ่กว่า รวมทั้งมีระยะความสูงจากพื้นถึงตัวถังที่มากกว่า นั่นทำให้สามารถใช้งานได้หลากหลายพื้นที่ ใช้ขับลุยไปในพื้นที่ที่เข้าถึงยากได้สะดวกขึ้น สมบุกสมบันกว่ารถทั่วไป รวมทั้งมีพื้นที่สำหรับบรรทุกสัมภาระที่มากกว่า

ซึ่งรถ SUV จะมีตัวเลือกทั้งแบบ 5 ที่นั่ง และ 7 ที่นั่ง แต่ส่วนใหญ่จะเน้น 5 ที่นั่ง มีการปรับพับเบาะรองรับการใช้งานที่หลากหลาย ซึ่งบางรุ่นสามารถพับเบาะด้านหลังให้ราบเรียบ หรือพับแบบตลบขึ้นเพื่อให้บรรทุกของที่มีความสูงได้มากขึ้นอีกด้วย และทั่วไปแล้วจะเป็นรถที่ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบล้อหน้า แต่ในบางรุ่นจะเป็นแบบ AWD หรือ All Wheel Drive เป็นระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ที่ปรับการใช้งานอัตโนมัติตามสภาพพื้นถนน เป็นรถในกลุ่มที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในไทยและต่างประเทศ ตัวอย่างรถในกลุ่มนี้ ได้แก่ Honda CR-V, Nissan X-Trail, Subaru Forester, Mazda CX-5, MG HS, Haval Jolion เป็นต้น

รถ MPV (Multi Purpose Vehicle)


ทำความเข้าใจว่ารถกลุ่มนี้ เน้นไปที่พื้นที่ห้องโดยสารเป็นหลัก หน้าตาอาจจะไม่ได้ดูสปอร์ตสักเท่าไหร่ จะมีเบาะนั่งที่รองรับผู้โดยสารได้ตั้งแต่ 7-11 คน แล้วแต่รูปแบบของตัวถัง มีขนาดตัวถังที่เฉลี่ยยาวกว่ารถ SUV ความสูงของพื้นถึงตัวถังต่ำกว่า รถ MPV จะมีห้องโดยสารที่สูงโปร่ง บางตัวถังมีขนาดใกล้เคียงรถตู้ มีเบาะนั่งที่ปรับใช้งานได้อเนกประสงค์ ส่วนใหญ่เบาะนั่งจะมี 7 ที่นั่ง ในบางรุ่นเบาะแถวสองจะเป็นเบาะแบบแยก สามารถลุกเปลี่ยนที่นั่งจากเบาะแถวสองมาเบาะแถวสามได้ง่าย เป็นรถที่เหมาะกับการเดินทางระยะไกล และด้วยการออกแบบที่เน้นความสะบายของห้องโดยสารเป็นหลัก เบาะที่นั่งจะถูกออกแบบให้เหมาะกับการนั่งนานๆ และเป็นเบาะที่นั่งสบายที่สุดเมื่อเทียบกับรถในกลุ่มอื่นๆ ตัวอย่างรถในกลุ่มนี้ ได้แก่ Toyota Innova, Hyundai H-1, Toyota Alphard, Nissan Serena, Honda Mobilio, Suzuki Ertiga, Mitsubishi Space Wagon เป็นต้น

รถ PPV (Pick-Up Passenger Vehicle)

เป็นรถในเซกเม้นต์ใหม่ที่เกิดขึ้นในไทยเป็นประเทศแรก เป็นรถที่มีพื้นฐานมาจากกระบะ ซึ่งในต่างประเทศอาจจะเรียกรวมรถในกลุ่มนี้ว่าเป็นรถ SUV เมื่อดูจากตัวถังจะเห็นว่ามีการออกแบบที่เป็นแบบเดียวกับรถกระบะ แต่จะมีการปรับขยายพื้นที่ห้องโดยสารเพิ่มเติมขึ้นมา ใช้แชสซีเดิม แต่ปรับเปลี่ยนระบบช่วงล่างใหม่ มีตัวเลือกทั้งแบบระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ และ 4 ล้อ มีจุดเด่นคือห้องโดยสารที่กว้าง รองรับผู้โดยสารได้ถึง 7 คน และบรรทุกสัมภาระได้จำนวนมาก ตกแต่งเสริมอุปกรณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย สามารถขับใช้งานแบบสมบุกสมบันได้ มีความปลอดภัยสูง


ซึ่งในปัจจุบันรถในกลุ่มนี้เป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อกลายเป็นรถมือสองแล้วค่อนข้างคุ้มกับราคาที่ต้องจ่าย แถมราคาขายต่อก็ไม่ตกอีกด้วย รวมทั้งมีความแตกต่างในการขับที่ต่างจากตอนเป็นรถกระบะ มีความนุ่มนวล นั่งสบายและมีอุปกรณ์อำนวนความสะดวกและเทคโนโลยีความปลอดภัยที่เหนือกว่ารถกระบะ นี่จึงทำให้รถ PPV เริ่มเป็นที่นิยมในไทยและต่างประเทศมากขึ้น ตัวอย่างรถในกลุ่มนี้ เช่น Toyota Fortuner, Nissan Terra, Ford Everest, Mitsubishi Pajero Sport, Isuzu MU-X เป็นต้น

รถ Crossover

ขอเพิ่มเติมมาอีกนิด เพราะค่อนข้างจะมีความใกล้เคียงกับรถ SUV เป็นรถที่พัฒนาควบคู่กันมา แต่มีขนาดตัวถังที่เล็กกว่า ให้ความคล่องตัวมากกว่า แต่ไม่ได้สมบุกสมบันเท่ากับรถ SUV ใช้โครงสร้างตัวถังแบบ Unibody หรือแชสซีและตัวถังที่เป็นชิ้นเดียวกัน หรือจะพูดง่ายๆ ว่า นำรถเก๋งซีดานมาขยายร่างและเพิ่มความสูง ให้ความคล่องตัวแบบรถเก๋ง แต่ลุยได้มากกว่า และมีข้อแตกต่างที่สำคัญคือ รถ Crossover จะใช้ระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ และอาจจะมีรุ่นพิเศษที่เพิ่มระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ เข้ามาด้วย ส่วนราคาจะต่ำกว่ารถ SUV ตัวอย่างเช่น  Nissan Kicks e-Power, Toyota Corolla Cross, Mazda CX-30, Mitsubishi Xpander, Mercedes-Benz GLA เป็นต้น

พอจะได้รู้จักรถในแต่ละประเภทกันแล้ว ตอนนี้มาดูความต้องการใช้งานกันว่ามีความจำเป็นแบบไหน ซึ่งตรงนี้ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน รวมทั้งงบประมาณที่ตั้งเอาไว้ หากต้องการใช้งานในเมืองเป็นหลัก ออกเดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัดไกลๆ บ้าง เน้นพื้นที่ห้องโดยสารที่ไม่ใหญ่มาก ตัวเลือกของรถในกลุ่ม SUV, Crossover เป็นทางเลือกที่เหมาะสม แต่ถ้าหากเดินทางไกลเป็นประจำ เน้นความสะดวกสบายมากที่สุดลองดู MPV แต่ถ้าต้องการรถไซส์ใหญ่ บรรทุกของเยอะ เดินทางไกลบ่อย และพร้อมสมบุกสมบัน PPV เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด

ส่วนเมื่อไหร่ที่ควรเปลี่ยนมาเป็นรถในกลุ่มครอบครัวแบบนี้ เรื่องแรกต้องประเมินรูป แบบการใช้งาน เรื่องที่สอง งบประมาณในกระเป๋า และเรื่องที่สาม การตอบโจทย์ของทุกคนในครอบครัว แต่อย่าลืมว่าก่อนที่จะตัดสินใจต้องทดลองขับรถในรุ่นนั้นๆ ก่อนว่าเหมาะกับตัวเราหรือไม่ และลองให้ครอบครัวได้ลองนั่งในทุกตำแหน่ง แล้วจะรู้ว่ารถรุ่นไหนตอบโจทย์มากที่สุด แต่ถ้ายังติดปัญหาเรื่องราคาของรถใหม่ป้ายแดง ลองมองหารถมือสองใน Cars24 รับรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอน


เมื่อคนเราเติบโตขึ้น ไลฟ์สไตล์ และการเลือกเป็นเจ้าของรถยนต์สักรุ่นย่อมเปลี่ยนแปลงไป จากที่เป็นคนโสดใช้ชีวิตวัยรุ่น วัยทำงานในสไตล์ของตัวเอง อาจจะรู้สึกว่าการขับรถซีดาน (รถเก๋ง 4 ประตู) หรือรถสปอร์ต เป็นอะไรที่ถูกจริตการใช้งานมากกว่ารถในกลุ่มครอบครัวที่มีขนาดใหญ่ ดูแก่ไม่สมวัย!

แต่เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น หรือแต่งงานมีครอบครัว การใช้ชีวิตเริ่มเปลี่ยนแปลงไป การเดินทางด้วยตัวคนเดียวหรือสองคน กลายเป็นต้องยกทัพกันไปทั้งบ้าน นั่นทำให้รถซีดานเริ่มไม่ตอบโจทย์การใช้งานกันแล้วล่ะ

ทีนี้ก่อนจะขยับไซส์รถให้ตอบโจทย์การใช้งานแบบครอบครัว มาทำความรู้จักกันก่อนว่า รถในแต่ละแบบมีอะไรบ้าง นอกเหนือจากรถเก๋งซีดาน แล้วรถในกลุ่มครอบครัวที่ว่านี้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบไหน Cars24 มีคำตอบ

รถ SUV (Sport Utility Vehicle)

เป็นรถอเนกประสงค์ มีพื้นที่ใช้สอยภายในห้องโดยสารมากกว่ารถซีดาน มีขนาดตัวถังที่ใหญ่กว่า รวมทั้งมีระยะความสูงจากพื้นถึงตัวถังที่มากกว่า นั่นทำให้สามารถใช้งานได้หลากหลายพื้นที่ ใช้ขับลุยไปในพื้นที่ที่เข้าถึงยากได้สะดวกขึ้น สมบุกสมบันกว่ารถทั่วไป รวมทั้งมีพื้นที่สำหรับบรรทุกสัมภาระที่มากกว่า

ซึ่งรถ SUV จะมีตัวเลือกทั้งแบบ 5 ที่นั่ง และ 7 ที่นั่ง แต่ส่วนใหญ่จะเน้น 5 ที่นั่ง มีการปรับพับเบาะรองรับการใช้งานที่หลากหลาย ซึ่งบางรุ่นสามารถพับเบาะด้านหลังให้ราบเรียบ หรือพับแบบตลบขึ้นเพื่อให้บรรทุกของที่มีความสูงได้มากขึ้นอีกด้วย และทั่วไปแล้วจะเป็นรถที่ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบล้อหน้า แต่ในบางรุ่นจะเป็นแบบ AWD หรือ All Wheel Drive เป็นระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ที่ปรับการใช้งานอัตโนมัติตามสภาพพื้นถนน เป็นรถในกลุ่มที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในไทยและต่างประเทศ ตัวอย่างรถในกลุ่มนี้ ได้แก่ Honda CR-V, Nissan X-Trail, Subaru Forester, Mazda CX-5, MG HS, Haval Jolion เป็นต้น

รถ MPV (Multi Purpose Vehicle)


ทำความเข้าใจว่ารถกลุ่มนี้ เน้นไปที่พื้นที่ห้องโดยสารเป็นหลัก หน้าตาอาจจะไม่ได้ดูสปอร์ตสักเท่าไหร่ จะมีเบาะนั่งที่รองรับผู้โดยสารได้ตั้งแต่ 7-11 คน แล้วแต่รูปแบบของตัวถัง มีขนาดตัวถังที่เฉลี่ยยาวกว่ารถ SUV ความสูงของพื้นถึงตัวถังต่ำกว่า รถ MPV จะมีห้องโดยสารที่สูงโปร่ง บางตัวถังมีขนาดใกล้เคียงรถตู้ มีเบาะนั่งที่ปรับใช้งานได้อเนกประสงค์ ส่วนใหญ่เบาะนั่งจะมี 7 ที่นั่ง ในบางรุ่นเบาะแถวสองจะเป็นเบาะแบบแยก สามารถลุกเปลี่ยนที่นั่งจากเบาะแถวสองมาเบาะแถวสามได้ง่าย เป็นรถที่เหมาะกับการเดินทางระยะไกล และด้วยการออกแบบที่เน้นความสะบายของห้องโดยสารเป็นหลัก เบาะที่นั่งจะถูกออกแบบให้เหมาะกับการนั่งนานๆ และเป็นเบาะที่นั่งสบายที่สุดเมื่อเทียบกับรถในกลุ่มอื่นๆ ตัวอย่างรถในกลุ่มนี้ ได้แก่ Toyota Innova, Hyundai H-1, Toyota Alphard, Nissan Serena, Honda Mobilio, Suzuki Ertiga, Mitsubishi Space Wagon เป็นต้น

รถ PPV (Pick-Up Passenger Vehicle)

เป็นรถในเซกเม้นต์ใหม่ที่เกิดขึ้นในไทยเป็นประเทศแรก เป็นรถที่มีพื้นฐานมาจากกระบะ ซึ่งในต่างประเทศอาจจะเรียกรวมรถในกลุ่มนี้ว่าเป็นรถ SUV เมื่อดูจากตัวถังจะเห็นว่ามีการออกแบบที่เป็นแบบเดียวกับรถกระบะ แต่จะมีการปรับขยายพื้นที่ห้องโดยสารเพิ่มเติมขึ้นมา ใช้แชสซีเดิม แต่ปรับเปลี่ยนระบบช่วงล่างใหม่ มีตัวเลือกทั้งแบบระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ และ 4 ล้อ มีจุดเด่นคือห้องโดยสารที่กว้าง รองรับผู้โดยสารได้ถึง 7 คน และบรรทุกสัมภาระได้จำนวนมาก ตกแต่งเสริมอุปกรณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย สามารถขับใช้งานแบบสมบุกสมบันได้ มีความปลอดภัยสูง


ซึ่งในปัจจุบันรถในกลุ่มนี้เป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อกลายเป็นรถมือสองแล้วค่อนข้างคุ้มกับราคาที่ต้องจ่าย แถมราคาขายต่อก็ไม่ตกอีกด้วย รวมทั้งมีความแตกต่างในการขับที่ต่างจากตอนเป็นรถกระบะ มีความนุ่มนวล นั่งสบายและมีอุปกรณ์อำนวนความสะดวกและเทคโนโลยีความปลอดภัยที่เหนือกว่ารถกระบะ นี่จึงทำให้รถ PPV เริ่มเป็นที่นิยมในไทยและต่างประเทศมากขึ้น ตัวอย่างรถในกลุ่มนี้ เช่น Toyota Fortuner, Nissan Terra, Ford Everest, Mitsubishi Pajero Sport, Isuzu MU-X เป็นต้น

รถ Crossover

ขอเพิ่มเติมมาอีกนิด เพราะค่อนข้างจะมีความใกล้เคียงกับรถ SUV เป็นรถที่พัฒนาควบคู่กันมา แต่มีขนาดตัวถังที่เล็กกว่า ให้ความคล่องตัวมากกว่า แต่ไม่ได้สมบุกสมบันเท่ากับรถ SUV ใช้โครงสร้างตัวถังแบบ Unibody หรือแชสซีและตัวถังที่เป็นชิ้นเดียวกัน หรือจะพูดง่ายๆ ว่า นำรถเก๋งซีดานมาขยายร่างและเพิ่มความสูง ให้ความคล่องตัวแบบรถเก๋ง แต่ลุยได้มากกว่า และมีข้อแตกต่างที่สำคัญคือ รถ Crossover จะใช้ระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ และอาจจะมีรุ่นพิเศษที่เพิ่มระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ เข้ามาด้วย ส่วนราคาจะต่ำกว่ารถ SUV ตัวอย่างเช่น  Nissan Kicks e-Power, Toyota Corolla Cross, Mazda CX-30, Mitsubishi Xpander, Mercedes-Benz GLA เป็นต้น

พอจะได้รู้จักรถในแต่ละประเภทกันแล้ว ตอนนี้มาดูความต้องการใช้งานกันว่ามีความจำเป็นแบบไหน ซึ่งตรงนี้ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน รวมทั้งงบประมาณที่ตั้งเอาไว้ หากต้องการใช้งานในเมืองเป็นหลัก ออกเดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัดไกลๆ บ้าง เน้นพื้นที่ห้องโดยสารที่ไม่ใหญ่มาก ตัวเลือกของรถในกลุ่ม SUV, Crossover เป็นทางเลือกที่เหมาะสม แต่ถ้าหากเดินทางไกลเป็นประจำ เน้นความสะดวกสบายมากที่สุดลองดู MPV แต่ถ้าต้องการรถไซส์ใหญ่ บรรทุกของเยอะ เดินทางไกลบ่อย และพร้อมสมบุกสมบัน PPV เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด

ส่วนเมื่อไหร่ที่ควรเปลี่ยนมาเป็นรถในกลุ่มครอบครัวแบบนี้ เรื่องแรกต้องประเมินรูป แบบการใช้งาน เรื่องที่สอง งบประมาณในกระเป๋า และเรื่องที่สาม การตอบโจทย์ของทุกคนในครอบครัว แต่อย่าลืมว่าก่อนที่จะตัดสินใจต้องทดลองขับรถในรุ่นนั้นๆ ก่อนว่าเหมาะกับตัวเราหรือไม่ และลองให้ครอบครัวได้ลองนั่งในทุกตำแหน่ง แล้วจะรู้ว่ารถรุ่นไหนตอบโจทย์มากที่สุด แต่ถ้ายังติดปัญหาเรื่องราคาของรถใหม่ป้ายแดง ลองมองหารถมือสองใน Cars24 รับรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอน

อ่านเพิ่มเติม