เตรียมตัวให้พร้อมก่อนต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ สะดวกสบายแค่ปลายนิ้ว!

CARS24
CARS24
| อ่าน 1 นาที

ด้วยความก้าวล้ำของเทคโนโลยี ทำให้ทุกวันนี้เราสามารถ “ต่อภาษีรถยนต์ประจำปีออนไลน์” ได้แล้ว โดยไม่ต้องเดินทางฝ่ารถติด ไม่ต้องหยุดงาน และไม่ต้องเสี่ยงกับโควิด-19 อีกด้วย เพราะไม่ว่าจะเป็นรถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ ฯลฯ ก็ต้องชำระค่าภาษีเป็นประจำทุกปีที่เรียกกันว่า “ป้ายวงกลม” หรือ “ป้ายภาษี” นั่นเอง

ว่าแต่การจะต่อภาษีรถยนต์ประจำปีผ่านทางออนไลน์ รวมถึงการต่อภาษีรถที่มีอายุมากกว่า 7 ปีขึ้นไปต้องทำอย่างไรกันบ้าง? เพราะปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกอนุญาตให้รถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป (นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก) สามารถยื่นชำระภาษีประจำปีผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้ว ด้วยวิธีการที่ไม่ยุ่งยากและสะดวกสบาย เรียกว่าสามารถทำได้ทุกที่และทุกเวลานั่นเอง CARS24 มีวิธีการต่อภาษีรถออนไลน์มาแนะนำกัน

รถยนต์แบบไหนต่อภาษีออนไลน์ประจำปีได้บ้าง?

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคล (ไม่เกิน 7 คน และเกิน 7 คน) อายุไม่เกิน 7 ปี
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคล (ไม่เกิน 7 คนและเกิน 7 คน) อายุเกิน 7 ปี
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล อายุไม่เกิน 7 ปี
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล อายุเกิน 7 ปี
  • รถจักรยานยนต์ อายุไม่เกิน 5 ปี
  • รถจักรยานยนต์ อายุเกิน 5 ปี
  • เป็นรถที่จดทะเบียนจังหวัดใดก็ได้
  • รถที่ค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี และชำระภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน

ขั้นตอนง่ายๆ ในการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ด้วยตัวเอง

Step1: เข้าสู่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf แล้วเลือกตรง “ลงทะเบียนสมาชิกใหม่”

Step2: กรอกข้อมูลส่วนตัวที่ระบุให้ครบถ้วน และตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องแล้วกดปุ่ม “บันทึก”

Step3: หลังจากลงทะเบียนสมาชิกใหม่แล้ว ให้ Login เข้าสู่ระบบเพื่อใช้บริการ จากนั้นให้เลือก “ชำระภาษีรถยนต์ประจำปี” ในเมนูย่อยให้เลือก “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต”

Step4: กรอกข้อมูล “ประเภทรถ” “จังหวัด / สาขา” “เลขทะเบียนรถ” “ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ / ผู้ครอบครอง” ให้ถูกต้องครบถ้วน แล้วกดปุ่ม “บันทึก”

Step5: ระบบจะทำการสรุป “รายการข้อมูลลงทะเบียนรถ” ให้คุณตรวจเช็คความถูกต้องของข้อมูลจากนั้นให้กด “ยื่นชำระภาษี”

Step6: ระบบจะนำไปสู่หน้า “ข้อมูลการยื่นชำระภาษี” ให้กรอกข้อมูล พ.ร.บ. ให้ถูกต้อง แล้วจึงกดปุ่ม “กรอกสถานที่จัดส่งเอกสาร” เมื่อคุณกรอกที่อยู่ในการจัดส่งเอกสารครบถ้วนแล้วให้กดปุ่ม “เลือกวิธีชำระเงิน”

Step7: เลือกรูปแบบการชำระเงิน (ที่คุณสะดวกมากที่สุด) โดยจะมีให้เลือก 3 ช่องทาง คือ 1. ชำระเงินโดยหักบัญชีเงินฝาก 2. ชำระเงินโดยบัตรเครดิต / บัตรเดบิต และ 3. เคาน์เตอร์บริการ

Step8: เมื่อคุณกรอกรายละเอียดต่างๆ ครบถ้วนให้ตรวจเช็คความถูกต้องของชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ในการจัดส่งเอกสารให้ดี เพราะเมื่อกดปุ่มตกลงแล้วไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ จากนั้นให้กดปุ่ม “ยืนยัน”

วิธีการตรวจสอบสถานะ

คุณสามารถตรวจสอบสถานะการยื่นชำระภาษีรถยนต์ออนไลน์ สถานะการจัดส่งเอกสาร EMS เลขกรมธรรม์ หรือปัญหาจากการยื่นชำระได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี / เปลี่ยนชองทางชำระเงิน” โดยระยะเวลาตั้งแต่การชำระเงินค่าภาษีจนถึงวันที่ได้รับเอกสารประมาณ 5 วันทำการ สามารถตรวจสอบสถานะการจัดส่งเอกสาร หมายเลข EMS หรือหากพบข้อผิดพลาดได้ที่เมนูนี้เช่นกัน

ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์อายุเกิน 7 ปี ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

สำหรับรถที่มีอายุเกิน 7 ปี (นับตั้งแต่วันจดทะเบียนครั้งแรก) ก่อนจะยื่นภาษีรถยนต์ออนไลน์ ต้องนำรถไปตรวจสภาพที่ ตรอ. (สถานตรวจสภาพรถเอกชน) เสียก่อน โดยคุณต้องเตรียมสมุดเล่มทะเบียนรถ หรือสำเนาเล่มทะเบียนรถไปด้วย เมื่อตรวจสภาพเรียบร้อยแล้วจะได้ใบรับรองการตรวจสภาพรถตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ รวมถึงควรจะต้องต่อ พ.ร.บ.ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยของปีนั้นๆ ให้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งคุณสามารถทำที่ ตรอ. ได้เลย หรือจะทำการซื้อขณะที่กำลังทำรายการต่อภาษีออนไลน์บนเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกได้เช่นกัน แบ่งเป็น

  • รถยนต์มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี แต่ไม่มีการติดตั้งแก๊ส สามารถนำรถไปตรวจสภาพความพร้อมในการใช้งานกับสถานประกอบการเอกชนหรือ ตรอ. ที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่ง หรือนำรถเข้าไปตรวจสภาพที่กรมขนส่งโดยตรงได้เช่นกัน และอย่าลืมแนบหลักฐานการทำ พ.ร.บ.ไปด้วย
  • รถยนต์มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี ที่ติดตั้งแก๊ส นอกจากต้องตรวจสภาพกับ ตรอ.แล้ว จำเป็นต้องนำรถไปตรวจสอบระบบแก๊สด้วย ตามหลักเกณฑ์เดียวกับรถไม่เกิน 7 ปีคือ อายุการติดตั้งระบบแก๊สนับจากวันที่ระบุไว้ รวมถึงถังบรรจุแก๊สด้วย เมื่อตรวจสอบทุกอย่างครบก็สามารถนำรถเข้าไปต่อทะเบียนได้เลย โดยอย่าลืมพ.ร.บ.แนบไปด้วย

“ตรวจสภาพรถยนต์” ต้องตรวจเช็คอะไรบ้าง?

กรณีที่รถยนต์ของคุณผ่านการใช้งานตั้งแต่ 7 ปี ก่อนต่อภาษีรถยนต์ประจำปีออนไลน์ต้องผ่านการรับรองจากสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) เสียก่อน โดยมีรายละเอียดในการตรวจสภาพรถ ดังนี้

  • ตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลของรถ ไม่ว่าจะเป็น แผ่นป้ายทะเบียนรถ ลักษณะรถ หมายเลขตัวถัง หมายเลขเครื่องยนต์ เป็นต้น
  • ตรวจสภาพความสมบูรณ์ของตัวรถ อาทิ ตัวถัง สี อุปกรณ์ด้านความปลอดภัย พวงมาลัย ที่ปัดน้ำฝน เป็นต้น
  • ตรวจสอบการทำงานของระบบบังคับเลี้ยว ระบบเบรก ทดสอบประสิทธิภาพการเบรก โดยตรวจสอบอุปกรณ์ทุกชิ้นให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
  • ตรวจสอบวัดโคมไฟหน้า ทิศทางการเบี่ยงเบนของแสง และวัดค่าความเข้มของแสง
  • ตรวจสอบวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
  • รถยนต์เครื่องดีเซลต้องตรวจควันดำ โดยระบบการกรองต้องไม่เกินร้อยละ 50 และระบบความทึบแสงต้องไม่เกินร้อยละ 45
  • การตรวจวัดค่าควันดำ ระหว่างเร่งเครื่องยนต์จนสุดคันเร่งขณะเข้าเกียร์ว่าง และปิดระบบปรับอากาศ
  • การตรวจวัดระดับเสียงจากท่อไอเสีย ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล
  • สำหรับรถใช้แก๊สจะต้องมีการตรวจเพิ่มเติมคือ การตรวจทดสอบ การตรวจเช็คข้อต่อ ท่อ และอุปกรณ์แก๊สทั้งระบบ ว่ามีความสมบูรณ์พร้อมใช้งานหรือไม่ โดยถังแก๊สต้องมีอายุไม่เกิน 10 ปี
  • สำหรับรถที่ติดถังแก๊สที่มีอายุเกิน 10 ปี จะมีการตรวจสอบว่ายังใช้งานได้ต่ออีกหรือไม่ โดยจะพิจารณาจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งว่ามีความสมบูรณ์พร้อมใช้งานมากน้อยขนาดไหน ซึ่งถ้าตรวจสอบแล้วก็จะออกใบรับรองเพื่อยืดอายุการใช้งานต่อได้อีก 5 ปี ตามกฎหมาย

หลังจากตรวจสภาพผ่านแล้ว ตรอ. จะออกใบรายงานผลการตรวจสภาพรถตามกฎหมาย ส่วนข้อมูลของตัวรถที่ได้รับการตรวจสภาพผ่านแล้วนั้นจะถูกส่งเข้าไปยังขนส่งแบบอัตโนมัติ

การรายงานผลการตรวจสภาพรถ

หลังจากที่รถของคุณผ่านการตรวจสภาพรถแล้ว ตรอ. จะจัดพิมพ์รายงานผลการตรวจสภาพรถจากระบบสารสนเทศของกรมการขนส่งทางบก โดย ตรอ.จะจัดเก็บเอกสารส่วนที่ 1 และมอบเอกสารส่วนที่ 2 ให้กับผู้ที่นำรถเข้ารับการตรวจสภาพเก็บไว้เป็นหลักฐาน โดยถือเป็นใบรับรองการตรวจสภาพและให้มีอายุ 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ผ่านการตรวจสภาพรถ

กรณีไม่ผ่านการตรวจสภาพรถ เจ้าหน้าที่จะแจ้งผลการตรวจสภาพและข้อบกพร่องให้ผู้ที่นำรถเข้ารับการตรวจสภาพรับทราบ พร้อมทั้งมอบเอกสารส่วนที่ 2 ให้เจ้าของรถเพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสภาพรถอีกครั้งหลังจากแก้ไขข้อบกพร่องแล้ว โดยมีรายละเอียดการตรวจสภาพรถใหม่ ดังนี้

  • กรณีตรวจสภาพรถใหม่ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพครั้งแรก ให้ตรวจเฉพาะรายการข้อบกพร่องที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพ
  • กรณีตรวจสภาพรถใหม่เกิน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพครั้งแรก ให้ตรวจสภาพใหม่ทุกรายการ

ค่าบริการการตรวจสภาพรถ

  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กก. ค่าบริการ 150 บาท/คัน
  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กก. ค่าบริการ 250 บาท/คัน
  • รถจักรยานยนต์ ค่าบริการ 60 บาท/คัน

เพื่อความปลอดภัย ห่างไกลจากโควิด-19 และเพิ่มความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันมากขึ้น CARS24 อยากแนะนำให้คุณเปลี่ยนมาใช้บริการ “ชำระภาษีรถยนต์ประจำปี” ผ่านช่องทางออนไลน์ หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กรมการขนส่งทางบก โทร. 02 271 8888 ต่อ 9313 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือดาวน์โหลดคู่มือการใช้บริการ “การชำระภาษีรถยนต์ประจำปี” ได้ทาง https://eservice.dlt.go.th/esvapp/pdf/UserGuideTax.pdf

ด้วยความก้าวล้ำของเทคโนโลยี ทำให้ทุกวันนี้เราสามารถ “ต่อภาษีรถยนต์ประจำปีออนไลน์” ได้แล้ว โดยไม่ต้องเดินทางฝ่ารถติด ไม่ต้องหยุดงาน และไม่ต้องเสี่ยงกับโควิด-19 อีกด้วย เพราะไม่ว่าจะเป็นรถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ ฯลฯ ก็ต้องชำระค่าภาษีเป็นประจำทุกปีที่เรียกกันว่า “ป้ายวงกลม” หรือ “ป้ายภาษี” นั่นเอง

ว่าแต่การจะต่อภาษีรถยนต์ประจำปีผ่านทางออนไลน์ รวมถึงการต่อภาษีรถที่มีอายุมากกว่า 7 ปีขึ้นไปต้องทำอย่างไรกันบ้าง? เพราะปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกอนุญาตให้รถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป (นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก) สามารถยื่นชำระภาษีประจำปีผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้ว ด้วยวิธีการที่ไม่ยุ่งยากและสะดวกสบาย เรียกว่าสามารถทำได้ทุกที่และทุกเวลานั่นเอง CARS24 มีวิธีการต่อภาษีรถออนไลน์มาแนะนำกัน

รถยนต์แบบไหนต่อภาษีออนไลน์ประจำปีได้บ้าง?

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคล (ไม่เกิน 7 คน และเกิน 7 คน) อายุไม่เกิน 7 ปี
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคล (ไม่เกิน 7 คนและเกิน 7 คน) อายุเกิน 7 ปี
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล อายุไม่เกิน 7 ปี
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล อายุเกิน 7 ปี
  • รถจักรยานยนต์ อายุไม่เกิน 5 ปี
  • รถจักรยานยนต์ อายุเกิน 5 ปี
  • เป็นรถที่จดทะเบียนจังหวัดใดก็ได้
  • รถที่ค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี และชำระภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน

ขั้นตอนง่ายๆ ในการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ด้วยตัวเอง

Step1: เข้าสู่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf แล้วเลือกตรง “ลงทะเบียนสมาชิกใหม่”

Step2: กรอกข้อมูลส่วนตัวที่ระบุให้ครบถ้วน และตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องแล้วกดปุ่ม “บันทึก”

Step3: หลังจากลงทะเบียนสมาชิกใหม่แล้ว ให้ Login เข้าสู่ระบบเพื่อใช้บริการ จากนั้นให้เลือก “ชำระภาษีรถยนต์ประจำปี” ในเมนูย่อยให้เลือก “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต”

Step4: กรอกข้อมูล “ประเภทรถ” “จังหวัด / สาขา” “เลขทะเบียนรถ” “ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ / ผู้ครอบครอง” ให้ถูกต้องครบถ้วน แล้วกดปุ่ม “บันทึก”

Step5: ระบบจะทำการสรุป “รายการข้อมูลลงทะเบียนรถ” ให้คุณตรวจเช็คความถูกต้องของข้อมูลจากนั้นให้กด “ยื่นชำระภาษี”

Step6: ระบบจะนำไปสู่หน้า “ข้อมูลการยื่นชำระภาษี” ให้กรอกข้อมูล พ.ร.บ. ให้ถูกต้อง แล้วจึงกดปุ่ม “กรอกสถานที่จัดส่งเอกสาร” เมื่อคุณกรอกที่อยู่ในการจัดส่งเอกสารครบถ้วนแล้วให้กดปุ่ม “เลือกวิธีชำระเงิน”

Step7: เลือกรูปแบบการชำระเงิน (ที่คุณสะดวกมากที่สุด) โดยจะมีให้เลือก 3 ช่องทาง คือ 1. ชำระเงินโดยหักบัญชีเงินฝาก 2. ชำระเงินโดยบัตรเครดิต / บัตรเดบิต และ 3. เคาน์เตอร์บริการ

Step8: เมื่อคุณกรอกรายละเอียดต่างๆ ครบถ้วนให้ตรวจเช็คความถูกต้องของชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ในการจัดส่งเอกสารให้ดี เพราะเมื่อกดปุ่มตกลงแล้วไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ จากนั้นให้กดปุ่ม “ยืนยัน”

วิธีการตรวจสอบสถานะ

คุณสามารถตรวจสอบสถานะการยื่นชำระภาษีรถยนต์ออนไลน์ สถานะการจัดส่งเอกสาร EMS เลขกรมธรรม์ หรือปัญหาจากการยื่นชำระได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี / เปลี่ยนชองทางชำระเงิน” โดยระยะเวลาตั้งแต่การชำระเงินค่าภาษีจนถึงวันที่ได้รับเอกสารประมาณ 5 วันทำการ สามารถตรวจสอบสถานะการจัดส่งเอกสาร หมายเลข EMS หรือหากพบข้อผิดพลาดได้ที่เมนูนี้เช่นกัน

ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์อายุเกิน 7 ปี ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

สำหรับรถที่มีอายุเกิน 7 ปี (นับตั้งแต่วันจดทะเบียนครั้งแรก) ก่อนจะยื่นภาษีรถยนต์ออนไลน์ ต้องนำรถไปตรวจสภาพที่ ตรอ. (สถานตรวจสภาพรถเอกชน) เสียก่อน โดยคุณต้องเตรียมสมุดเล่มทะเบียนรถ หรือสำเนาเล่มทะเบียนรถไปด้วย เมื่อตรวจสภาพเรียบร้อยแล้วจะได้ใบรับรองการตรวจสภาพรถตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ รวมถึงควรจะต้องต่อ พ.ร.บ.ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยของปีนั้นๆ ให้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งคุณสามารถทำที่ ตรอ. ได้เลย หรือจะทำการซื้อขณะที่กำลังทำรายการต่อภาษีออนไลน์บนเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกได้เช่นกัน แบ่งเป็น

  • รถยนต์มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี แต่ไม่มีการติดตั้งแก๊ส สามารถนำรถไปตรวจสภาพความพร้อมในการใช้งานกับสถานประกอบการเอกชนหรือ ตรอ. ที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่ง หรือนำรถเข้าไปตรวจสภาพที่กรมขนส่งโดยตรงได้เช่นกัน และอย่าลืมแนบหลักฐานการทำ พ.ร.บ.ไปด้วย
  • รถยนต์มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี ที่ติดตั้งแก๊ส นอกจากต้องตรวจสภาพกับ ตรอ.แล้ว จำเป็นต้องนำรถไปตรวจสอบระบบแก๊สด้วย ตามหลักเกณฑ์เดียวกับรถไม่เกิน 7 ปีคือ อายุการติดตั้งระบบแก๊สนับจากวันที่ระบุไว้ รวมถึงถังบรรจุแก๊สด้วย เมื่อตรวจสอบทุกอย่างครบก็สามารถนำรถเข้าไปต่อทะเบียนได้เลย โดยอย่าลืมพ.ร.บ.แนบไปด้วย

“ตรวจสภาพรถยนต์” ต้องตรวจเช็คอะไรบ้าง?

กรณีที่รถยนต์ของคุณผ่านการใช้งานตั้งแต่ 7 ปี ก่อนต่อภาษีรถยนต์ประจำปีออนไลน์ต้องผ่านการรับรองจากสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) เสียก่อน โดยมีรายละเอียดในการตรวจสภาพรถ ดังนี้

  • ตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลของรถ ไม่ว่าจะเป็น แผ่นป้ายทะเบียนรถ ลักษณะรถ หมายเลขตัวถัง หมายเลขเครื่องยนต์ เป็นต้น
  • ตรวจสภาพความสมบูรณ์ของตัวรถ อาทิ ตัวถัง สี อุปกรณ์ด้านความปลอดภัย พวงมาลัย ที่ปัดน้ำฝน เป็นต้น
  • ตรวจสอบการทำงานของระบบบังคับเลี้ยว ระบบเบรก ทดสอบประสิทธิภาพการเบรก โดยตรวจสอบอุปกรณ์ทุกชิ้นให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
  • ตรวจสอบวัดโคมไฟหน้า ทิศทางการเบี่ยงเบนของแสง และวัดค่าความเข้มของแสง
  • ตรวจสอบวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
  • รถยนต์เครื่องดีเซลต้องตรวจควันดำ โดยระบบการกรองต้องไม่เกินร้อยละ 50 และระบบความทึบแสงต้องไม่เกินร้อยละ 45
  • การตรวจวัดค่าควันดำ ระหว่างเร่งเครื่องยนต์จนสุดคันเร่งขณะเข้าเกียร์ว่าง และปิดระบบปรับอากาศ
  • การตรวจวัดระดับเสียงจากท่อไอเสีย ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล
  • สำหรับรถใช้แก๊สจะต้องมีการตรวจเพิ่มเติมคือ การตรวจทดสอบ การตรวจเช็คข้อต่อ ท่อ และอุปกรณ์แก๊สทั้งระบบ ว่ามีความสมบูรณ์พร้อมใช้งานหรือไม่ โดยถังแก๊สต้องมีอายุไม่เกิน 10 ปี
  • สำหรับรถที่ติดถังแก๊สที่มีอายุเกิน 10 ปี จะมีการตรวจสอบว่ายังใช้งานได้ต่ออีกหรือไม่ โดยจะพิจารณาจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งว่ามีความสมบูรณ์พร้อมใช้งานมากน้อยขนาดไหน ซึ่งถ้าตรวจสอบแล้วก็จะออกใบรับรองเพื่อยืดอายุการใช้งานต่อได้อีก 5 ปี ตามกฎหมาย

หลังจากตรวจสภาพผ่านแล้ว ตรอ. จะออกใบรายงานผลการตรวจสภาพรถตามกฎหมาย ส่วนข้อมูลของตัวรถที่ได้รับการตรวจสภาพผ่านแล้วนั้นจะถูกส่งเข้าไปยังขนส่งแบบอัตโนมัติ

การรายงานผลการตรวจสภาพรถ

หลังจากที่รถของคุณผ่านการตรวจสภาพรถแล้ว ตรอ. จะจัดพิมพ์รายงานผลการตรวจสภาพรถจากระบบสารสนเทศของกรมการขนส่งทางบก โดย ตรอ.จะจัดเก็บเอกสารส่วนที่ 1 และมอบเอกสารส่วนที่ 2 ให้กับผู้ที่นำรถเข้ารับการตรวจสภาพเก็บไว้เป็นหลักฐาน โดยถือเป็นใบรับรองการตรวจสภาพและให้มีอายุ 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ผ่านการตรวจสภาพรถ

กรณีไม่ผ่านการตรวจสภาพรถ เจ้าหน้าที่จะแจ้งผลการตรวจสภาพและข้อบกพร่องให้ผู้ที่นำรถเข้ารับการตรวจสภาพรับทราบ พร้อมทั้งมอบเอกสารส่วนที่ 2 ให้เจ้าของรถเพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสภาพรถอีกครั้งหลังจากแก้ไขข้อบกพร่องแล้ว โดยมีรายละเอียดการตรวจสภาพรถใหม่ ดังนี้

  • กรณีตรวจสภาพรถใหม่ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพครั้งแรก ให้ตรวจเฉพาะรายการข้อบกพร่องที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพ
  • กรณีตรวจสภาพรถใหม่เกิน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพครั้งแรก ให้ตรวจสภาพใหม่ทุกรายการ

ค่าบริการการตรวจสภาพรถ

  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กก. ค่าบริการ 150 บาท/คัน
  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กก. ค่าบริการ 250 บาท/คัน
  • รถจักรยานยนต์ ค่าบริการ 60 บาท/คัน

เพื่อความปลอดภัย ห่างไกลจากโควิด-19 และเพิ่มความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันมากขึ้น CARS24 อยากแนะนำให้คุณเปลี่ยนมาใช้บริการ “ชำระภาษีรถยนต์ประจำปี” ผ่านช่องทางออนไลน์ หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กรมการขนส่งทางบก โทร. 02 271 8888 ต่อ 9313 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือดาวน์โหลดคู่มือการใช้บริการ “การชำระภาษีรถยนต์ประจำปี” ได้ทาง https://eservice.dlt.go.th/esvapp/pdf/UserGuideTax.pdf

อ่านเพิ่มเติม